096-356-9461 support@rlg-ef.com

เพื่อพัฒนาอาจารย์ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ให้มีเจตคติ ความรู้ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะสมอง EF-ExecutiveFunctionsในเด็กช่วงประถมและมัธยมศึกษา ให้อาจารย์สามารถบูรณาการความรู้ทักษะสมอง EF-Executive Functionsเข้าไปในการจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษาครู เพื่อให้นักศึกษาครูสามารถนำความรู้นี้ไปใช้ในการพัฒนานักเรียนชั้นประถมและมัธยมที่ตนสอนในอนาคตต่อไป

ผู้เข้าร่วม  : คณาจารย์ของคณะครุศาสตร์ จำนวน432 คน

วันที่อบรม  แบ่งออกเป็น 3 รุ่น 
          
รุ่นที่ 1  วันที่ 19-21 พฤษภาคม 2564
            รุ่นที่ 2  วันที่ 27-29 พฤษภาคม 2564
            รุ่นที่ 3  วันที่  9-11 มิถุนายน 2564

แนวทางการอบรม       

           1. ใช้ฐานความรู้เรื่องทักษะสมองEF-Executive Functionsสำหรับการพัฒนานักเรียนระดับชั้น
               ประถมและมัธยมศึกษา
           2. ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning : PL)
           3. การอบรมแบบ Live Blended Participatory Learning (LB-PL) ผ่านระบบ ZOOM
           4. ประเมินผลด้วยการทำ pre-test และ post-test

สรุปผลการอบรม

  • ผู้เข้าร่วมมีความรู้ในเรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF เพิ่มมากขึ้น โดยค่าเฉลี่ยความรู้ก่อนการอบรม 24.80 % หลังการอบรมเพิ่มขึ้นเป็น 71.19 %
  • ผู้เข้าร่วมมีความมั่นใจเพิ่มมากในความสามารถของตนที่จะนำความรู้ ทักษะ แนวทางในการส่งเสริม EF การส่งเสริมพัฒนาการ การจัดกระบวนการเรียนรู้ การดูแลพัฒนานักศึกษา-เป็นอาจารย์ที่มีอยู่จริง  โดยก่อนการอบรม ประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเองอยู่ที่ “ไม่แน่ใจ” (ค่าเฉลี่ย 2.92)  หลังการอบรม ประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเองอยูที่ “มั่นใจอย่างยิ่ง” (ค่าเฉลี่ย 4.38) 
  • การอบรมครั้งนี้ได้สร้าง “ความมั่นใจอย่างยิ่ง” ในการรับรู้ความสามารถของตนเอง ในการที่จะนำไปใช้ ไปถ่ายทอดให้กับนักศึกษา ทั้งในเรื่องของความรู้ฐานราก 3 มิติ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ใหม่,เรื่องของสมอง ทักษะสมอง EF, องค์ประกอบ 5 ด้าน, แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้, การจัดทำแผนการเรียนการสอนตามมาตรฐานตัวชี้วัด, มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสามารถจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาได้ และที่สำคัญรับรู้ มีปณิธานที่จะเป็น“ครูที่มีอยู่จริง” ให้กับนักศึกษา
  • จำนวนผู้เข้าร่วมทั้งหมด 432 คน นั้นนอกจากจะมาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏแล้ว ยังมาจากสถาบันอื่นๆ ด้วย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งแสดงว่าความรู้เรื่องทักษะสมอง EF เป็นที่สนใจของบุคลากรทางการศึกษาอย่างกว้างขวาง และในการจัดอบรมทั้งสามรุ่นนี้ ได้สมารถสนองความต้องการของบุคคลากรเหล่านั้นได้ นับเป็นการขับเคลื่อน EF เข้าสู่สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้เป็นอย่างดี