096-356-9461 support@rlg-ef.com

เวลาเด็กเล็กๆ แสดงพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เด็กอาจมีความบกพร่องทางทักษะสมอง EF อาจจะบกพร่องบางด้าน หรือหลายด้านก็ได้ ซึ่งเราจะรู้ได้จากพฤติกรรมที่แสดงออกมา เช่น

ถ้ามีปัญหาด้าน Inhibitory Control จะส่งผลทั้งต่อความคิด(cognitive control) และการแสดงออก(behavior control) เด็กจะมีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น อยู่ไม่นิ่ง สมาธิสั้น ยุกยิก กระสับกระส่าย วอกแวกง่าย

ถ้ามีปัญหาด้าน Working Memory  เด็กอาจจำสิ่งที่ครูพูดได้บางอย่างหรือจำไม่ได้เลย ครูสั่งงานหลายอย่างเด็กจำไม่ได้หรือจำได้บางอย่างเท่านั้น ทำผิดซ้ำๆ 

ถ้ามีปัญหาด้าน Shift Cognitive Flexibility ก็จะเปลี่ยนปรับตัวยาก ถ้ามีอะไรเปลี่ยนไปจากเดิมเด็กจะหงุดหงิดงอแง ทำอะไรต่อไม่ได้ เช่นตารางกิจกรรมประจำวันเปลี่ยนไปจากเดิม เปลี่ยนพี่เลี้ยง เปลี่ยนครู เปลี่ยนอาหาร เปลี่ยนสถานที่ 

ถ้ามีปัญหาด้าน Emotional Control เด็กจะควบคุมอารมณ์ไม่ได้ โกรธนาน เสียใจนานแม้เป็นเรื่องเล็กน้อย 

ถ้ามีปัญหา Planning & Organizing  เด็กจะทำงานไม่เสร็จจากการติดปัญหาเล็กน้อย 

เด็กบางคนเป็นโรคบางอย่างซ้ำซ้อนอยู่ด้วย เช่น ออทิสซึม แอลดี ซึ่งประสาทสัมผัสไม่สามารถกรองและคัดแยกสิ่งที่จะรับรู้ได้ ก็จะทำให้เด็กยิ่งมีปัญหา EF มากขึ้น  หรือเด็กบางคนเคยชักมาก่อน ทำให้สมองได้รับผลกระทบ เด็กอาจมี IQ ดี แต่ก็อาจมีปัญหาด้าน EF ได้

เพราะฉะนั้นเด็กแต่ละคนจะต้องได้รับการวิเคราะห์ล้วงลึกว่ามีปัญหาอะไร แล้วพ่อแม่และครูทำการปรับแก้ ส่งเสริมพัฒนา EF ด้านที่เป็นปัญหานั้น


รองศาสตราจารย์ ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ (Center of Neuroscience) สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล