096-356-9461 support@rlg-ef.com

เพื่อให้คณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ คณะครุศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย สามารถเอื้ออำนวยการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมได้ มีเจตคติ มีองค์ความรู้ สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ และขยายองค์ความรู้เรื่องสมองกับการเรียนรู้ และทักษะสมอง EF ให้แก่นักศึกษา อาจารย์ ผู้ปกครองและบุคคลทั่วไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นไปตามหลักการการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ที่ส่งผลให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขึ้นในทุกส่วน  

ผู้เข้าร่วม   อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ คณะครุศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย  จำนวน 67 คน

วันที่จัดอบรม  วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม / วันเสาร์ที่ 7 และวันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน  2563


แนวทางและกระบวนการ

           1.  จัดทำหลักสูตรการอบรม  โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
                ด้านการจัดศึกษาปฐมวัยศึกษา และด้านทักษะสมอง EF               
           2.  ประสานงานและรับผู้เข้ารับการอบรมจากสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย
                ราชภัฏทั้ง 38 แห่ง
           3.  จัดการอบรมแบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning – PL) ผ่านสื่อออนไลน์

           4.  จัดการประชุมเพื่อถอดบทเรียนและเติมความรู้หลังจากผู้เข้ารับการอบรมได้นำกระบวนการ PL
                ไปใช้แล้ว
           5.   จัดสัมมนา Facilitator อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อเรียนรู้จากการแชร์ประสบการณ์
                 ถอดบทเรียน และเติมความรู้เสริมพลัง

หัวข้อการอบรมเชิงปฏิบัติการ
           1.  การสร้างสนามพลัง
           2.  กระบวนการเรียนรู้เพื่อเตรียมพลเมืองสู่ศตวรรษที่ 21
           3.  กระบวนทัศน์ใหม่และความเป็นวิทยากรกระบวนการ
           4.  การใช้เครื่องมือพื้นฐานที่สำคัญ
          5.
หลักการออกแบบกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
           6.  การเดินกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม   


สรุปผลการอบรม

          หลักสูตรการอบรมอาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเรื่อง EF Facilitator ออกแบบโดยใช้หลักของการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม( Participatory Learning )ซึ่งให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ เรื่องการเป็นผู้เอื้ออำนวยกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนในบทบาทของครู Facilitator โดยมุ่งหวังให้ผู้ร่วมกระบวนการอบรมเกิดการเปลี่ยนแปลงเจตคติเชิงบวกต่อการจัดการเรียนรู้ มีความรู้ความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และสามารถทำหน้าที่เป็น Facilitator ผู้เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในเรื่องสมองกับการเรียนรู้และทักษะสมองEF

เนื่องจากช่วงเวลาที่ผ่านมาอยู่ในช่วงของสถานการณ์โควิด 19 แพร่ระบาด การจัดอบรมจึงได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นการจัดการเรียนรู้ผ่านทางระบบออนไลน์

การประเมินความสำเร็จของการอบรมในหลักสูตรนี้ ใช้รูปแบบที่หลากหลายผ่านตัวชี้วัดด้านต่างๆ ได้แก่

ตัวชี้วัดด้านเจตคติ   ประเมินโดยใช้รูปแบบการสรุปการเรียนรู้ด้วยการสะท้อนผลการเรียนรู้ (Learning Reflection ) ด้วยคำถามที่ให้ผู้ร่วมอบรมได้สะท้อนถึงความรู้สึกของตนตลอดจนการบอกถึงสิ่งสำคัญ และประโยชน์ที่ตนได้รับรู้ รวมถึงบทเรียนและข้อคิดที่ได้ของผู้ร่วมอบรมเมื่อผ่านกระบวนการเรียนรู้เป็นระยะๆตลอดกระบวนการอบรม

ตัวชี้วัดด้านความรู้ความเข้าใจ เรื่อง หลักการพื้นฐานของการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมด้วยบทบาทของ Facilitator ในเรื่องสมองกับการเรียนรู้และทักษะสมอง EF ใช้การประเมินเป็นระยะๆ ตลอดกระบวนการ ผ่านการสะท้อนการเรียนรู้(Learning Reflection)  มีการสรุปการเรียนรู้ในแต่ละครั้งอย่างต่อเนื่อง และการใช้แบบทดสอบในช่วงท้ายของการอบรม

ตัวชี้วัดด้านทักษะความสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ได้จัดให้ผู้เข้าร่วมการอบรมได้รับประสบการณ์ตรงผ่านการทดลองฝึกปฏิบัติจริง ในการใช้เทคนิคเครื่องมือพื้นฐานที่สำคัญต่างๆของ Facilitator และฝึกปฏิบัติการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ผ่านตัวอย่างประเด็นเนื้อหาต่างๆ ที่ใช้ในหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน มาประยุกต์จัดทำเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้หลักของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในบทบาทของ Facilitator และสะท้อนผลสรุปของการเรียนรู้ร่วมกัน

ผลที่เกิดจากการอบรมมีหลักฐานแสดงเชิงประจักษ์สะท้อนให้เห็นว่า กระบวนการอบรมสามารถนำพาให้ผู้เข้ารับการอบรมได้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ คือ

     1.   ผู้เข้ารับการอบรมสะท้อนถึงความรู้สึกที่แสดงให้เห็นว่าตนเองมีเจตคติเชิงบวกต่อกระบวนการเรียนรู้ 
          รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของตน แสดงความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนว่าสามารถจัด
          กระบวนการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริงได้

     2.   ผู้เข้ารับการอบรมสะท้อนสรุป บอกได้ถึงความรู้ ความเข้าใจในหลักของการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วน
          ร่วม โดยสามารถแสดงเหตุผลประกอบตามข้อคำถามในระหว่างกระบวนการ และตามข้อคำถามใน
           แบบทดสอบท้ายการอบรม

     3.   ผู้เข้ารับการอบรมสามารถแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการประยุกต์ใช้หลักของการจัดการเรียนรู้
          แบบมีส่วนร่วมในบทบาท Facilitator โดยสามารถเลือกใช้เทคนิค เครื่องมือในการจัดกระบวนการ
          เรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับเรื่องที่จัดการเรียนรู้และสามารถออกแบบแผนการจัดการเรียนการสอนที่มี
          คุณภาพ สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านเจตคติ ความรู้ความ
          เข้าใจ และทักษะความสามารถ ซึ่งจะช่วยนำพาให้ผู้เรียนไปถึงการเรียนรู้ที่แท้จริงได้