096-356-9461 support@rlg-ef.com

อาจารย์สุริยันต์ แสงงาม
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

อาจารย์สุริยันต์บอกว่าเคยเรียนรู้เรื่องสมองมาแล้วแต่เรียนรู้อย่างผิวเผิน เมื่อรู้ว่าจะต้องสอนวิชาสมองกับการเรียนรู้ คำถามแรกคือทำไมต้องสอนเรื่องสมอง “แต่เมื่อได้เข้ารับการอบรม ก็ได้เรียนรู้ว่าที่เรารู้มานั้นไม่พอ และการอบรมก็ทำให้เกิดความเข้าใจด้วยว่าจะนำไปบูรณาการกับวิชาที่สอนอยู่อย่างไร ไม่หนักใจที่จะต้องสอนวิชาสมอง เพราะได้มีการพูดคุยกัน สะท้อนความคิดกันในหมู่อาจารย์ที่สอนวิชานี้ด้วยกัน

“แรกๆ การสอนเรื่องสมองและเรื่อง EF ยากมาก นักศึกษาซึ่งมีพื้นฐานความรู้เรื่องสมองอยู่บ้าง ไม่เข้าใจว่าจะนำมาพัฒนาเด็กอย่างไร แต่พอใช้กิจกรรมเข้ามาในกระบวนการเรียนการสอน ก็ทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น จากนั้นพยายามเชื่อมโยงให้ตรงจุด แล้วขยับไปเรื่องที่ยากขึ้นเรื่อยๆ  

“ความรู้เรื่องสมองที่ผ่านมากับความรู้ในวันนี้ก็ต่างกัน ที่ผ่านมาไม่เคยมีการระบุว่าทักษะอะไรเกิดจากการทำงานของสมองส่วนใด เป็นการวิเคราะห์โดยรวมว่าสมองมีหน้าที่จำ คิด ทำงาน แต่ปัจจุบันเมื่อรู้ว่าสมองส่วนนี้ช่วยควบคุมการยั้งคิดไตร่ตรอง ก็ทำให้เราเชื่อมโยงได้เหมือนมีขั้นบันไดให้เราปีนขึ้นไปได้ และพัฒนาการของทักษะสมองก็เป็นลำดับขั้นตอน ตอนนี้มีความชัดเจนมากขึ้นทั้งเนื้อหาและการนำไปใช้

“เมื่อมารู้จัก EF จากที่เคยปิดกั้นตัวเอง ไม่ค่อยยอมรับสิ่งใหม่ๆ กลายเป็นเมื่ออบรมรับความรู้อะไรมาก็เอามาปรับใช้  ..การสอนนักศึกษาให้มีความรู้เรื่องทักษะ EF แม้จะไม่มีสื่ออุปกรณ์เพียบพร้อม แต่ถ้าเราเริ่มจากจุดเล็กๆ ไปสู่จุดใหญ่ นั่นคือจุดสำคัญที่สุดที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของผู้สอนและนักศึกษาในอนาคต ใช้ดนตรีและการเคลื่อนไหวในการจัดการเรียนการสอนทุกคาบเรียน ซึ่งนักศึกษาก็ทำได้ดี

ผลก็คือนักศึกษากล้าพูด กล้าแสดงออก กล้านำเสนอความคิด มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น  “ผิดกับที่ผ่านๆ มาที่ไม่มีใครอยากพูดอยากนำเสนอ

“คิดว่าอย่างน้อยนักศึกษาจะนำเทคนิคการเรียนรู้แบบนี้ไปใช้กับเด็กปฐมวัยด้วยแน่นอน

อาจารย์สุริยันต์ยังได้นำความรู้ EF ไปขยายต่อกับครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก “ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปกติไม่ค่อยได้ทำกิจกรรมอะไรกับเด็ก  พอเอากิจกรรมไปให้ ครูชอบมาก ชื่นชม เราก็ภูมิใจ ครูปรับใช้กระบวนการ Active Learning ซึ่งครูที่ไม่อยากทำไม่ค่อยเห็นด้วย ต่อมาก็เริ่มปรับบ้าง เป็นจุดเริ่มต้นในการเปิดรับความรู้ใหม่ๆ”

การเปลี่ยนแปลง/ผลสัมฤทธิ์ หลังจากเรียนรู้ EF และนำความรู้ EF ไปใช้ในการเรียนการสอน

เปิดใจยอมรับเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทำให้มีความสุขกับการทำงานมากขึ้น  เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF แล้วเปิดใจเรียนรู้ พบว่าการสอนเรื่องสมองก็ไม่ยากอย่างที่คิด

นักศึกษากล้าพูด กล้าแสดงออก กล้านำเสนอความคิด มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น  “อย่างเช่นให้นักศึกษาทำกิจกรรมจุดสร้างสรรค์ เปิดเพลงบรรเลงคลอไปด้วย ให้สร้างสรรค์จุดให้เป็นรูปร่างต่างๆ แล้วแต่จะจินตนาการ เสร็จแล้วนำเสนอผลงานของตัวเอง ทุกคนแย่งกันพูด ผิดกับที่ผ่านๆ มาที่ไม่มีใครอยากพูดอยากนำเสนอ และที่น่าแปลก ผลงานจากจุดไม่ได้เป็นรูปร่างอะไร นักศึกษาก็สามารถนำเสนอได้จากความคิดของตนเอง”

ปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอน ใช้ดนตรีและการเคลื่อนไหวในการจัดการเรียนการสอนทุกคาบเรียน ซึ่งทำให้นักศึกษาเรียนรู้เข้าใจเรื่องที่ต้องการให้เรียนรู้ได้ดี

ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเปิดรับความรู้ใหม่ๆ ได้ใช้ Active Learning ใช้กิจกรรมในการพัฒนาเด็ก ซึ่งครูชื่นชอบมาก ครูที่ไม่มีความรู้ ทำไม่เป็น ก็เริ่มปรับบ้าง

ฝากไว้ให้คิด

“การสอนนักศึกษาให้มีความรู้เรื่องทักษะ EF แม้ไม่มีสื่ออุปกรณ์เพียบพร้อม แต่ถ้าเราเริ่มจากจุดเล็กๆ ไปสู่จุดใหญ่ นั่นคือจุดสำคัญที่สุดที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของผู้สอนและนักศึกษาในอนาคต”

THAILAND EF PARTNERSHIP

เครือข่ายไทยแลนด์ อี เอฟ พาร์ทเนอร์ชิพ