096-356-9461 support@rlg-ef.com

รองศาสตราจารย์ ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ (Center of Neuroscience) สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โดยธรรมชาติเด็กจะมีพัฒนาการทั่วไปตามขั้นตอนและสัมพันธ์กับพัฒนาการด้าน EF (การคิด การกำกับตัวเอง)

โดยอ้างถึงงานวิจัยที่ดูความสัมพันธ์ของทักษะสมอง EF และพัฒนาการทั่วไป(DSPM) ในเด็ก 3-5 ปีจำนวน 100 คน พบว่าพัฒนาการ 5 ด้าน (กล้ามเนื้อมัดใหญ่-gross motor กล้ามเนื้อมัดเล็ก- fine motor ความสามารถในการเข้าใจภาษาผ่านการฟังการเห็น – receptive language ความสามารถในการแสดงออกทางภาษา – expressive language, personal and social) เกือบทุกด้านมีความสัมพันธ์กับคะแนน EF ยกเว้น gross motor คือเด็กที่มีพัฒนาการทางด้านภาษาดี ฟังเข้าใจ สื่อสารได้ดี คะแนน EF ก็จะดีด้วย เด็กคนใดมีพัฒนาการด้านการใช้ภาษา รับรู้ภาษาน้อย คะแนน EF ก็จะไม่ดี คะแนนพัฒนาการก็น้อยด้วย การช่วยเหลือตัวเอง การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญาก็สัมพันธ์กับ EF อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ มีเพียง gross motor ที่ไม่สัมพันธ์กับ EF  

ดังนั้น การที่เราเห็นเด็กเคลื่อนไหว ใช้ร่างกายได้ดี ไม่ได้บ่งบอกว่า EF ดีหรือไม่ดี เด็ก 100 คนจะมี 97 คนที่ gross motor ดี แต่คะแนน EF อาจต่ำได้ เราต้องดูการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก การใช้ภาษา การช่วยเหลือตัวเองของเด็ก เป็นพื้นฐานในการพัฒนา EF