096-356-9461 support@rlg-ef.com
Slide
Slide
Slide
Slide

รายวิชา สมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย สาขาวิชา การศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๑

คำอธิบายรายวิชา
ธรรมชาติและพัฒนาการ กระบวนการทำงาน สมรรถนะและวิธีเรียนรู้ของสมอง ปัจจัย สิ่งแวดล้อม และการเลี้ยงดูที่มีผลต่อการทำงานของสมอง การพัฒนาทักษะสมอง EF แต่ละด้าน วิธีการจัดประสบการณ์ วิธีการตอบสนอง การประยุกต์ใช้ความรู้และการออกแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ในเบื้องต้น ด้วยกระบวนการวิเคราะห์ ประเมิน ออกแบบและทดลองจัดประสบการณ์เบื้องต้นกับเด็กปฐมวัย

Brain Development and Early Childhood Learning

The nature, development , process, and capacity to learn of the brain. Factors of environment including early childhood educators/providers affect on how brain work. Executive Functions (EFs) and how to promote them. Designing early childhood classroom activities, responses, and applications of what they learn from this course to promote EFs through observation, evaluation, and analization.

รายละเอียดหลักสูตร “สมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย” สำหรับนักศึกษาสาขาปฐมวัยศึกษา ชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

ขอบข่ายเนื้อหา แนวคิด วัตถุประสงค์ :เพื่อให้นักศึกษาสามารถ กระบวนการ

สัปดาห์ที่ 1
การเรียนรู้เรื่องสมองมีความสำคัญอย่างไร

1. ความจำเป็นของการพัฒนารากฐานชีวิตของมนุษย์เพื่อให้เป็นพลเมืองที่มีศักยภาพ

 

 

 

 

2.ความสำคัญของการพัฒนาสมองตั้งแต่ปฐมวัย

3.บทบาทของครูปฐมวัยที่มีต่อการสร้างรากฐานของชีวิตมนุษย์

4. ความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับพัฒนาการ ทักษะ สมรรถนะ และพฤติกรรม

  1. ปฐมวัยเป็นรากฐานที่สำคัญของชีวิตมนุษย์
  2. สมองที่มีประสิทธิภาพต้องได้รับการพัฒนาในช่วงปฐมวัย
    3. ครูปฐมวัยคือบุคคลที่มีบทบาทสำคัญต่อเด็กรองจากพ่อแม่และบุคคลในครอบครัว
  3. ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทักษะ สมรรถนะ และพฤติกรรมจะช่วยให้การพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
  1. อภิปราย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผลกระทบที่มีต่อชีวิตมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคต
  2. เชื่อมโยงความสำคัญของสมองที่มีต่อเด็กปฐมวัย
  3. สะท้อนคุณค่าบทบาทครูปฐมวัยต่อการส่งเสริม
    พัฒนาการเด็ก
  4. ให้ความหมาย และวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของคำที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก : พัฒนาการ ทักษะ สมรรถนะและพฤติกรรม

1. แนะนำจุดมุ่งหมาย ขอบข่ายเนื้อหา และกระบวนการเรียนรู้
ของสาระวิชานี้ และที่จะเรียนรู้ในวันนี้
 

 

 

2. วิเคราะห์สถานการณ์และวิกฤตเด็กและเยาวชนไทยในปัจจุบันจากคลิปวิดีโอ และข้อมูลทางสถิติที่เกี่ยวข้อง
3. ร่วมกันค้นหาและระดมสมอง หาเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านต่างๆ

4. อภิปรายถึงคุณลักษณะของเด็กที่จะเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในศตวรรษที่ 21

5. แบ่งกลุ่มศึกษาและสืบค้นจาก อินเตอร์เนตเพื่อความสำคัญของสมองและพัฒนาการพัฒนาสมอง
ในช่วงปฐมวัย และผู้สอนให้ความรู้เพิ่มเติม

6. ร่วมกันค้นหาคำตอบว่าเหตุใดครูปฐมวัยจึงมีความสำคัญและมี คุณค่าต่อการสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพ
7. ศึกษา ทำความเข้าใจกับความหมาย ความเชื่อมโยง
ของคำที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก
:  พัฒนาการ ทักษะ สมรรถนะและพฤติกรรม

สัปดาห์ที่ 2
สมองกับสิ่งแวดล้อม

1. สมองและจิต ( Brain & Mind) ทำงานร่วมกันเพื่อปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม

 

 

2. สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญต่อคุณลักษณะและบุคลิกภาพของมนุษย์

3. ความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับธรรมชาติการพัฒนาเส้นใยประสาทขั้นพื้นฐาน

  1. สมองและจิตของมนุษย์จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่อความอยู่รอดและดำรงเผ่าพันธุ์
  2. ประสบการณ์ที่ได้รับจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อการพัฒนาโครงสร้างสมอง
  3. ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนาเส้นใยประสาทขั้นพื้นฐาน ช่วยให้เกิดความเข้าใจในการเลือกแนวทางการสอนและมีปฏิสัมพันธ์
    กับเด็กปฐมวัยให้ได้รับการพัฒนาไปในแนวทางที่ส่งเสริมศักยภาพอย่างเหมาะสมตามธรรมชาติ
  1. วิเคราะห์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประเด็นวิวัฒนาการของสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น และความ สามารถมนุษย์ตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้เล็งเห็นว่าสมองมีการเปลี่ยน แปลงไปตามสิ่งแวดล้อม
  2. แสดงความคิดเห็นในการเชื่อมโยง ปัจจัยด้านสิ่ง ประดิษฐ์ สังคม และความ สามารถของมนุษย์ต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลง
  3. ให้ความหมาย และวิเคราะห์ความเชื่อมโยง
    กระบวนการพัฒนาเส้นใยประสาทขั้นพื้นฐานกับ
    พัฒนาการ บุคลิกภาพและสมรรถนะเด็ก
    : Synapse, Myelin, Pruning
  4. สะท้อนบทบาทครูปฐมวัยต่อการสร้างประสบการณ์ที่มี
    คุณภาพเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

1. แนะนำจุดมุ่งหมาย ขอบข่ายเนื้อหา และกระบวนการเรียนรู้
ของสาระที่จะเรียนรู้ในวันนี้

 

 

2. วิเคราะห์วิวัฒนาการของ
สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น และความสามารถมนุษย์ตั้งแต่อดีตปัจจุบันและอนาคต จากคลิปวิดีโอหรือสื่อภาพ และข้อมูลทาง
สถิติที่เกี่ยวข้อง

3. ร่วมกันค้นหาและระดมสมอง หาเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย

4. วิเคราะห์ความน่าจะเป็นของโครงสร้างสมองของเด็กที่เติบโตในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันหลังจากฟังบรรยายเชิงปฏิบัติการเรื่องกระบวนการพัฒนาเส้นใย
ประสาทขั้นพื้นฐาน
: Synapse, Myelin, Pruning และผู้สอนให้ความรู้เพิ่มเติม

5. แบ่งกลุ่มระดมสมองประมวลความสำคัญของการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กต่อการส่งเสริมโครงสร้างสมอง

6. ร่วมกันอภิปรายว่าบทบาทของครูปฐมวัยแบบใดที่เรียกว่าสร้างประสบการณ์ที่มีคุณภาพ

7. สะท้อนความคิด โดยการ
ยกตัวอย่างแนวทางของการพัฒนาสมรรถนะจากประสบการณ์ของตนเอง

สัปดาห์ที่ 3
ธรรมชาติของพัฒนาการสมอง

 

1. ธรรมชาติของพัฒนาการสมองแต่ละช่วงอายุ

2. ระยะวิกฤตของพัฒนาการทักษะในช่วงปฐมวัย

3. การเชื่อมโยงของพัฒนาการ สมอง จิตใจและร่างกาย ของเด็กปฐมวัย

 

  1. การเรียนรู้ในช่วงสามขวบปีแรกส่งผลต่อโครงสร้างหลักของสมอง จึงเป็นระยะวิกฤตของการพัฒนาทักษะสำคัญของมนุษย์
  2. ธรรมชาติสมองมีพัฒนาการตามช่วงอายุเช่นเดียวกับร่างกาย และจิตใจ
  3. การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับช่วงวัยของพัฒนาการสมองจะเป็นการสร้างพื้นฐานสมรรถนะที่เหมาะสมให้กับเด็กอย่างมีประสิทธิภาพเพราะพื้นฐานของแต่ละสมรรถนะจะได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสม
  4. พัฒนาการและการทำงานของสมอง จิตใจ และร่างกาย มีความเกี่ยวพัน และส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน

1. ให้ความหมาย และวิเคราะห์ความเชื่อมโยงคำว่า พัฒนาการ, พัฒนาการสมอง,
พัฒนาการร่างกาย, พัฒนาการจิตใจ
2. วิเคราะห์บทบาทผู้ปกครองและครูปฐมวัยในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามแนวคิดระยะวิกฤต
3. เชื่อมโยงความน่าจะเป็นของสาเหตุที่ทำให้เกิดสถานการณ์และวิกฤตเด็กและเยาวชนไทยในปัจจุบันตามแนวคิดระยะวิกฤตของ
พัฒนาการสมอง
4. เชื่อมโยงความสัมพันธ์
ระหว่างพัฒนาการและการ
ทำงานของสมอง จิตใจ และ
ร่างกาย
5. สะท้อนบทบาทครูปฐมวัย
ต่อการสร้างประสบการณ์ที่มี
คุณภาพเพื่อส่งเสริม
พัฒนาการเด็ก

 

 

 

1. ทบทวนธรรมชาติของสมอง; สมองกับสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์,กระบวนการพัฒนา
เส้นใยประสาทขั้นพื้นฐาน

 

 

2. แนะนำจุดมุ่งหมาย ขอบข่ายเนื้อหา และกระบวนการเรียนรู้
ของสาระที่จะเรียนรู้วันนี้

3. ร่วมอภิปรายในการบรรยายเรื่องพัฒนาการและระยะวิกฤติของสมอง

4. แบ่งกลุ่มระดมสมองเชื่อมโยง
ความน่าจะเป็นของสาเหตุที่ทำให้เกิดสถานการณ์และวิกฤตเด็กและเยาวชนไทยในปัจจุบัน ตาม
แนวคิดพัฒนาการและระยะวิกฤติ
ของสมอง

5. แบ่งกลุ่มระดมสมองวิเคราะห์
บทบาทผู้ปกครองและครูปฐมวัย ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
ปฐมวัย ตามแนวคิดพัฒนาการ
และระยะวิกฤติของสมอง

6. วิเคราะห์ความน่าจะเป็นของ
สมรรถนะเด็กตามแนวคิดความ
เกี่ยวพันซึ่งกันและกันของพัฒนาการและการทำงานของ
สมอง จิตใจและร่างกาย และผู้สอนให้ความรู้เพิ่มเติม

7. ร่วมกันอภิปรายว่าบทบาทของครูปฐมวัยแบบใดที่เรียกว่าสร้าง
ประสบการณ์ที่มีคุณภาพ

8. สะท้อนความคิด โดยการ
ยกตัวอย่างสมรรถนะจาก
ประสบการณ์ของตนเองตาม
แนวคิดความเกี่ยวพันธ์ซึ่งกันและ
กันของพัฒนาการและการทำงาน
ของสมอง จิตใจและร่างกาย

สัปดาห์ที่ 4
พื้นที่ของสมองแต่ละส่วนและหน้าที่

  1. พื้นที่ของสมองแต่ละส่วน (Brain areas ; Frontal Lobe, Parietal Lobe, Occipital Lobe, Temporal Lobe, Cerebellum)
  2. การรับข้อมูลผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5(+1) กับหน้าที่ของสมองแต่ละส่วน
  3. การเรียนรู้ กับเครือข่ายใยประสาท (Brain Network) และพฤติกรรม
  4. บทบาทครูปฐมวัยต่อการส่งเสริมพัฒนาการตามแนวคิดการทำงานของสมอง

 

1. สมองแต่ละส่วนมีหน้าที่แตกต่างกันเวลาทำงานจะทำงานร่วมกันมากกว่าหนึ่งส่วน เพื่อควบคุมการทำงานทั้งหมด ทั้งภายในและภายนอกของร่างกาย รวมถึงควบคุมความคิด ความจำ และการพูด การเคลื่อนไหว

2. สมองตีความข้อมูลที่ได้รับจากโลกภายนอกผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และรวบรวมเก็บข้อมูลนั้นไว้ในความทรงจำ หากสิ่งที่นำมาตีความนั้นมีความหมายสำหรับชีวิตเรา

3. ทุกครั้งที่เรียนรู้สิ่งใหม่และฝึกฝน สมองจะเปลี่ยนโครงสร้างของเซลล์ประสาท หรือเพิ่มจำนวนของการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์ประสาท (synapse) ทำให้ส่งและรับข้อมูลได้เร็วขึ้น

4. การฝึกให้เด็กลงมือทำและแก้ไขปัญหาเป็นการส่งเสริมการเชื่อมโยงเครือข่ายใยประสาท  (Brain Networks)  

  1. อธิบายได้ถึงความเข้าใจ
    เกี่ยวกับสมองแต่ละส่วนที่ทำ
    หน้าที่ต่างกัน และการทำงานร่วมกันของสมอง
  2. อภิปราย และแลกเปลี่ยน
    ความคิดเห็น ถึงความสำคัญ
    ของการเรียนรู้ผ่านประสาท
    สัมผัสทั้ง
    5
  3. วิเคราะห์สิ่งที่ตนเองได้
    เรียนรู้จากการเรียนในรูปแบบต่างๆ ที่ช่วยให้สมอง
    ทำงานได้ดี ตามแนวคิด

    Brain Area and Function
  4. เชื่อมโยงและวิเคราะห์
    รูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย
    ตามแนวคิด
    Brain Area and Functions และยกตัวอย่างได้

1. ทบทวนธรรมชาติของสมอง;
ปรับเปลี่ยนกับสิ่งแวดล้อม และ
ประสบการณ์,กระบวนการพัฒนา
เส้นใยประสาทขั้นพื้นฐาน

2. แนะนำจุดมุ่งหมาย ขอบข่าย
เนื้อหา และกระบวนการเรียนรู้
ของสาระที่จะเรียนรู้วันนี้

3. ร่วมอภิปรายและวิเคราะห์ในการบรรยายเชิงปฏิบัติการเรื่อง Brain Areas and Functions

1) สัมผัสหรรษา

2) เขียนอักษรจีน

4. แบ่งกลุ่มระดมสมองเชื่อมโยงและวิเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้ที่
เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย ตาม
แนวคิด
Brain Area and
Functions
5. สะท้อนความคิด โดยการ
ยกตัวอย่างกิจกรรมการเรียนแนว
Active Learning เพื่อส่งเสริม
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย ตาม
แนวคิด
Brain Area and
Functions

สัปดาห์ที่ 5
Brain structure and functions

  1. พัฒนาการของสมอง 3 ส่วน
  2. หน้าที่และกระบวนการทำงานของสมอง 3 ส่วน
  3. บทบาทของครูปฐมวัยที่มีต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามแนวคิดสมอง 3 ส่วน

 

  1. สมองมีพัฒนาการนับตั้งแต่ปฏิสนธิ สมองทั้ง 3 ส่วน มีพัฒนาการไม่พร้อมกัน
  2. สมองแต่ละส่วนทำหน้าที่แตกต่างกัน แต่ทุกส่วนส่งผลซึ่งกันและกัน ก่อนจะเห็นเป็นพฤติกรรม
  3. สมองแต่ละส่วนมีภารกิจหลักตามธรรมชาติ แตกต่างกันในแต่ละสถานการณ์ สมองแต่ละส่วนจึงต่อสู้กันเพื่อมีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรม

4. สมองส่วนเหตุผล เป็นส่วนเดียวที่เจริญเติบโตต่อไปได้จากการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม จนถึงในวัยผู้ใหญ่ และต้องถูกฝึกใช้ เพื่อควบคุมสมองส่วนอารมณ์และสัญชาตญาน

1. วิเคราะห์ความเชื่อมโยงของพัฒนาการและกระบวน การทำงานของสมอง 3 ส่วนที่สำคัญๆ อย่างง่าย
2. วิเคราะห์ และอภิปรายพร้อมยกตัวอย่างพฤติกรรม ตามแนวคิดกระบวนการทำงานของสมองสามส่วน
3. บอกได้ถึงคุณค่าของบทบาทครูปฐมวัยที่มีต่อการกระตุ้น/ส่งเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับหลักการทำงานของสมอง 3 ส่วน
1. แนะนำจุดมุ่งหมาย ขอบข่าย
เนื้อหา และกระบวนการเรียนรู้
ของสาระที่จะเรียนรู้วันนี้

2. บรรยายประกอบ slide
presentation และวิดีโอเกี่ยวกับพัฒนาการและกระบวนการทำงานของสมอง 3 ส่วน
3. ยกตัวอย่างของพฤติกรรมที่
แสดงออกโดยสมองแต่ละส่วน
โดยศึกษาจากเอกสารการ
สอนและการค้นคว้าเพิ่มเติม
4. แบ่งกลุ่มศึกษาและสืบค้นข่าวที่มีเด็ก เนื้อหาเช่น ความรุนแรงในเด็ก หรือเด็กเป็นผู้กระทำ
ผิดจากอินเตอร์เนต เพื่อระดม
สมอง เชื่อมโยงและวิเคราะห์
ความน่าจะเป็นในการเรียนรู้ของ
สมองเด็ก ตามแนวคิดสมอง
3
ส่วน และนำเสนอ
5. เขียนแผนที่ความคิด สรุป
พัฒนาการและความสัมพันธ์ของ
สมอง
3 ส่วนและยกตัวอย่าง
กิจกรรม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการ
ของเด็กปฐมวัย ตามแนวคิดสมอง
3 ส่วน

สัปดาห์ที่ 6
ทักษะสมอง EF – Executive Functions
1. ความหมายของทักษะสมอง EF

  1. ความสำคัญของทักษะสมอง EF และผลกระทบที่สร้างความแตกต่างในสมรรถนะของแต่ละบุคคล
  2. ความสำคัญของการพัฒนาทักษะสมอง EF ในช่วงปฐมวัย
  3. คุณประโยชน์ที่เด็กได้รับหากมีครูและผู้ปกครองที่เข้าใจและส่งเสริมทักษะสมอง EF ในเด็กปฐมวัย

 

  1. การเข้าใจถึงความหมายของทักษะสมอง EF นำไปสู่ความชัดเจนของการพัฒนาทักษะสมอง EF
  2. ทักษะสมอง EF ส่งผลต่อมนุษย์ในทุกมิติของชีวิต
  3. ปฐมวัยเป็นช่วงที่เป็นหน้าต่างแห่งโอกาสในการพัฒนาทักษะสมอง EF
  4. ทักษะสมอง EF ของเด็กพัฒนาได้หากผู้ใหญ่มีความเข้าใจและฝึกฝนเด็กอย่างต่อถูกต้อง
  1. วิเคราะห์และอภิปราย
    ความหมายและความสำคัญ
    ของทักษะสมอง
    EF
  2. วิเคราะห์และอภิปราย
    ความสำคัญของการพัฒนา
    ทักษะสมอง
    EF ในช่วง
    ปฐมวัย
  3. ยกตัวอย่างพฤติกรรมของ
    เด็กที่เกิดจากการบกพร่อง
    ของทักษะสมอง
    EF
  4. สรุปความรู้ และสะท้อนเจตคติตนเองเกี่ยวกับทักษะ
    สมอง
    EF

1. ทบทวนธรรมชาติของสมอง;
ปรับเปลี่ยนกับสิ่งแวดล้อม และ
ประสบการณ์ กระบวนการพัฒนา
เส้นใยประสาทขั้นพื้นฐาน, ระยะ
วิกฤต, สมอง
3 ส่วน

2. แนะนำจุดมุ่งหมาย ขอบข่าย
เนื้อหา และกระบวนการเรียนรู้
ของสาระที่จะเรียนรู้วันนี้

3. ดูวิดีโอเกี่ยวกับทักษะสมอง EF
และการส่งเสริมในช่วงปฐมวัย
และนักศึกษาแสดงความคิดเห็น

4. แบ่งกลุ่มศึกษาและสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญของทักษะสมอง EF จากเว็บไซต์ จากเอกสารประกอบการสอน เพื่อวิเคราะห์ อภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญของทักษะสมอง EF และนำเสนอ  ผู้สอนให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
5. แบ่งกลุ่มระดมสมองวิเคราะห์จากตัวอย่าง ถึงความน่าจะเป็นของพฤติกรรมของเด็กที่เกิดจากการบกพร่องของทักษะสมอง EF โดยพิจารณาตามพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน6. สรุปความรู้ และสะท้อนเจตคติตนเองในฐานะของครูปฐมวัยที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของ ทักษะสมอง EF และการที่ทักษะสมอง EF มีอัตราการพัฒนาสูงสุดในช่วงปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 7
ทักษะสมอง EF กับพัฒนาการเด็กปฐมวัย
1. ความหมายของพัฒนาการมนุษย์

  1. ความสำคัญของการส่งเสริม
    พัฒนาการให้กับเด็กปฐมวัย
  2. ความสำคัญของการสร้างความผูกพันที่มีคุณภาพให้เกิดกับเด็กปฐมวัย
  3. ความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของทักษะสมอง EF กับคุณภาพความผูกพัน
  4. ความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของทักษะสมอง EF กับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
  5. บทบาทครูปฐมวัยเมื่อเข้าใจ
    ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะสมอง
    EF คุณภาพความผูกพัน และพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน

 

  1. ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาทองของการส่งเสริมทั้งทักษะสมอง EF การสร้างความผูกพัน และส่งเสริมพัฒนาการ
  2. พัฒนาการของทักษะสมอง EF มีความสัมพันธ์กับคุณภาพความผูกพันและพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
  3. การส่งเสริมทักษะสมอง EF จะทำได้ดีหากเข้าใจความ สัมพันธ์ระหว่างทักษะสมอง EF คุณภาพความผูกพัน และพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
  4. ต้นทุนที่เด็กแต่ละคนได้รับจากการพัฒนาในทุกด้าน เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิ และการเลี้ยงดูจากบ้านสู่สถานศึกษามีความแตกต่างกัน
  1. ตอบคำถามได้ว่า ทำไม
    ปฐมวัยจึงเป็นช่วงทองของ
    การพัฒนาเด็กในทุกมิติ ทั้ง
    ด้านทักษะสมอง
    EF ด้านการสร้างคุณภาพความผูกพัน และด้านการส่งเสริม
    พัฒนาการทั้ง
    4 ด้าน
  2. วิเคราะห์ได้ถึงความ สัมพันธ์ระหว่างทักษะสมอง EF คุณภาพความผูกพัน และ
    พัฒนาการทั้ง
    4 ด้าน
  3. ประมวลสรุปว่าการส่งเสริมทักษะสมอง EF ต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพความผูกพัน และพัฒนาการทั้ง 4 ด้านไปพร้อมๆ กัน
  4. ตอบคำถามได้ว่าเหตุใดเด็กปฐมวัยแต่ละคนที่เข้าสู่สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจึงมีความแตกต่างกัน

5. สรุปความรู้ และสะท้อน
คิดถึงบทบาทของครูปฐมวัย
ในการสร้างความผูกพัน การ
ส่งเสริมพัฒนาการ ควบคู่ไป
กับการพัฒนาทักษะสมอง EF

1. แนะนำจุดมุ่งหมาย ขอบข่าย
เนื้อหา และกระบวนการเรียนรู้
ของสาระที่จะเรียนรู้วันนี้

2. ทบทวนและตั้งคำถามเกี่ยวกับ
ความสำคัญของการพัฒนาเด็ก ในช่วงปฐมวัย
3. ตั้งประเด็นคำถามก่อนดูวิดีโอ
และ ให้นักศึกษาดูวิดีโอ
“มหัศจรรย์
1000 วันแรกแห่ง
ชีวิต”
4. แบ่งกลุ่มวิเคราะห์ และอภิปราย สรุปสาระสำคัญจากวิดีโอและนำเสนอ และผู้สอนเชื่อมโยงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างความผูกพัน การส่งเสริม
พัฒนาการ และทักษะสมอง
EF
5. ฟังการบรรยายประกอบ slide
presentation เพื่อสรุป
สาระสำคัญของบทเรียน และตอบคำถาม
6. แบ่งกลุ่มนักศึกษา วิเคราะห์และสรุปความคิดเห็นเกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะสมอง
EF กับความผูกพัน และความ สัมพันธ์ระหว่างทักษะสมอง
กับพัฒนาการทั้ง
 4  ด้าน
7. สรุปความรู้ และสะท้อนเจตคติ
ตนเองในฐานะของครูปฐมวัยที่ได้
เรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์
ระหว่างการพัฒนาทักษะสมอง
EF คุณภาพความผูกพัน และ
พัฒนาการทั้ง
4  ด้าน ตลอดจน
ความแตกต่างระหว่างบุคคลของ
เด็กปฐมวัยเมื่อเข้าสู่สถานศึกษา
ปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 8-9-10

องค์ประกอบของทักษะสมอง EF

1. ความเข้าใจถึงการแบ่ง
องค์ประกอบทักษะสมอง
EF แบ่งออกเป็น3 กลุ่มทักษะ และแต่ละกลุ่มทักษะ ยังมีอีก 3 ทักษะ รวมเป็น 9 ทักษะ ทั้งนี้การเรียกชื่อและวิธีการแบ่งกลุ่มทักษะอาจพบว่ามีแตกต่างกันไปบ้าง

2. องค์ประกอบของ EF 9 ทักษะ

1) ความหมาย

2) หน้าที่

3) ตัวอย่างพฤติกรรม

4) พัฒนาการ

5) ลักษณะพฤติกรรมของเด็กที่
มีความบกพร่องในแต่ละทักษะ

6) การเลี้ยงดูที่ส่งผลให้แต่ละ
ทักษะไม่ได้รับการส่งเสริม

7) กิจกรรมที่ส่งเสริมแต่ละ
ทักษะ

3. คุณประโยชน์ที่เด็กได้รับหากมีครูและผู้ปกครองที่เข้าใจและส่งเสริมแต่ละทักษะได้อย่างเหมาะสม

4. ทักษะสมอง EF สู่การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21

 

1. การแบ่งและการเรียกชื่อทักษะ EF ในงานวิจัยนานาชาตินั้นมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับสาขาวิชาของผู้วิจัย และการออกแบบเครื่องมือเพื่อทำการเก็บข้อมูลในงานวิจัย บางครั้งจึงมีการเรียกทักษะเดียวกัน หรือทักษะที่มีความคล้ายกันในชื่อ
แตกต่างกัน

2. การแบ่งองค์ประกอบของทักษะสมอง EF เป็น 9 ด้าน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 3 ทักษะ ได้แก่ กลุ่มทักษะพื้นฐาน กลุ่มทักษะการกำกับตนเอง และกลุ่มทักษะการปฏิบัติ
3. การเลี้ยงดูส่งผลต่อการยับยั้ง
หรือส่งเสริมทักษะสมอง
EF
และการบกพร่องของทักษะใดของทักษะสมอง
EF จะส่งผลต่อ
พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็ก
4. การพัฒนาทักษะสมอง EF เป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นที่จะนำไปสู่การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นทักษะสำคัญที่จำเป็นต้องสร้างให้เกิดขึ้นในเด็กทุกคน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในโลกศตวรรษที่ 21 ที่มีการเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน

1. ระบุความเชื่อมโยงของ
ทักษะสมอง
EF กับพัฒนาการเด็กปฐมวัย
2. อภิปรายและยกตัวอย่างเพื่อแสดงความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบของ EF 9 ด้าน
3. วิเคราะห์และอภิปราย
ความสำคัญของทักษะสมอง

EF แต่ละกลุ่มที่มีผลต่อ
สมรรถนะของเด็กปฐมวัย
และการส่งผลในระยะยาว

4. ยกตัวอย่างพฤติกรรม หรือท่าทางของเด็กที่เกิดจาก
ความบกพร่องของแต่ละ
ทักษะ จากการสังเกต
พฤติกรรมผ่านเครื่องมือ
สังเกตพฤติกรรมเด็กภายใน
ห้องเรียนปฐมวัย

5. ยกตัวอย่างการเลี้ยงดูที่ส่งผลต่อการยับยั้ง และส่งเสริมแต่ละทักษะ
6. วิเคราะห์และเชื่อมโยงการสร้างกิจกรรมเพื่อส่งเสริมแต่ละทักษะให้เด็กปฐมวัย
7. สรุปความรู้ และสะท้อนเจตคติตนเองเกี่ยวกับทักษะ
สมอง
EF ในฐานะครูปฐมวัย

 

 

1. ทบทวนความสัมพันธ์ระหว่าง
พัฒนาการกับการพัฒนาทักษะ
สมอง
EF จากสัปดาห์ที่ผ่านมา

2. แนะนำจุดมุ่งหมาย ขอบข่าย
เนื้อหา และกระบวนการเรียนรู้
ของสาระที่จะเรียนรู้วันนี้

3. แบ่งกลุ่มศึกษาและสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการแบ่งองค์ ประกอบ และชื่อเรียกของทักษะสมอง EF จากเว็บไซต์เพื่อวิเคราะห์ อภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการแบ่งและการเรียกชื่อทักษะสมอง EF
4. ร่วมอภิปรายและวิเคราะห์ในการบรรยายเชิงปฏิบัติการเรื่อง
องค์ประกอบของ
EF 3 กลุ่ม
9 ด้าน
1) ความหมาย
2) หน้าที่
3) ตัวอย่างพฤติกรรม
4) ความสัมพันธ์กับพัฒนาการ
5) ลักษณะพฤติกรรมของเด็กที่มีความบกพร่องในแต่ละทักษะ
6) การเลี้ยงดูที่ส่งผลให้แต่ละ
ทักษะไม่ได้รับการส่งเสริม
7) กิจกรรมที่ส่งเสริมแต่ละทักษะ
5. แบ่งกลุ่มระดมสมอง วิเคราะห์
และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของ
EF แต่ละทักษะกับพฤติกรรมที่
สังเกตเห็นได้
6. ศึกษาเครื่องมือสำหรับศึกษา
พฤติกรรมเด็กปฐมวัยในสถาน
พัฒนาเด็กปฐมวัย โดยการสังเกต
และจดบันทึกขณะที่เด็กทำ
กิจกรรม
7. นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำผลการ
สังเกตพฤติกรรมเด็กปฐมวัยมา
วิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการ
สังเกต และเปิดโอกาสให้ปรับแก้
ไขเครื่องมือหลังจากที่ได้นำไป
ปฏิบัติ   นำเสนอหน้าชั้นเรียน
8. สรุปความรู้ และสะท้อนเจตคติ
ตนเองในฐานะของครูปฐมวัยที่ได้
เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะสมอง
EF

11-12 ปัจจัย สิ่งแวดล้อม และการเลี้ยงดูที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF
1. การพัฒนาทักษะสมอง EF ด้วยการดูแลสุขภาพสมองของเด็ก 

2. การพัฒนาทักษะสมอง EF ด้วย “โอกาส”

1)    ทำไมต้องให้โอกาส

2)       ให้โอกาสในเรื่องใดบ้าง

3. สภาพแวดล้อม : ครอบครัว ชุมชน ที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

4. สภาพแวดล้อมสมัยใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

5. บทบาทบุคคลที่มีอิทธิพลต่อเด็กในการพัฒนาทักษะสมอง EF

1)       พ่อแม่ และบุคคลในครอบครัว

2)       ครูปฐมวัย

1. สมองเป็นอวัยวะสำคัญและเป็นที่ปฏิบัติการของทักษะสมอง EF จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลสมองให้มีสุขภาพที่ดี

2. ทักษะสมอง EF ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เกิดจากการได้รับโอกาสในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ

3. การพัฒนาทักษะสมอง EF ที่ดี ต้องอาศัยการเอื้ออำนวยของ
สภาพแวดล้อม

4. สิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน IT สารเสพติด เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

5. ผู้ที่แวดล้อมเด็กมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

 

1. แนะนำจุดมุ่งหมาย ขอบข่ายเนื้อหา และกระบวนการเรียนรู้ ของสาระที่จะเรียนรู้วันนี้

2. บอกวิธีการดูแลสุขภาพสมองของเด็กเพื่อการพัฒนาทักษะสมอง EF
3. อภิปรายถึงความหมายของคำว่า “โอกาส” และให้
โอกาสเด็กเพื่อพัฒนาทักษะ
สมอง
EF ในเรื่องใดได้บ้าง

4. นำเสนอ และแลกเปลี่ยน
เรียนรู้เรื่องสภาพแวดล้อม
ที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะ
สมอง
EF

5. วิเคราะห์สภาพแวดล้อม
สมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นด้าน
IT
สารเสพติดและอื่นๆ ที่ส่งผล
กระทบต่อการพัฒนาทักษะ
สมอง
EF

6. ระดมสมองเพื่อบอกได้ถึงความสำคัญและคุณค่าของ “บทบาท” ของผู้ที่แวดล้อมเด็ก

1. วิเคราะห์และเชื่อมโยงความรู้ที่
เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพสมองและการให้โอกาส จากการดูคลิปวิดีโอ “กิน นอน กอด เล่น เล่า”

2. ระดมสมองเพื่อค้นหาโอกาสที่เด็กควรได้รับ เพื่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

3. วิเคราะห์ “โอกาส”จาก
ประสบการณ์ของตนเองที่เคยได้รับในวัยเด็ก และบอกผลดีว่าโอกาสดังกล่าวส่งผลด้านใดต่อตนเอง จากนั้นเข้ากลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอต่อกลุ่มใหญ่ด้วยการแสดงละคร

4. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมปัจจุบันที่มีความซับซ้อน ปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

5. วิเคราะห์ภาพที่สะท้อนให้เห็น
สภาพแวดล้อมและบทบาทที่
หลากหลายและส่งผลกับการ
พัฒนาทักษะสมอง
EF

 

13. การสังเกตและประเมินพฤติกรรมที่สะท้อนทักษะสมอง EF

1. ความหมายและความสำคัญของการสังเกตและการประเมิน
พฤติกรรมที่สอดคล้องกับ
ทักษะสมอง
EF ของเด็กปฐมวัย
2. แนวทางการการสังเกตและการประเมินพฤติกรรมที่สอดคล้องกับทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยใน แต่ละกลุ่มทักษะ
3. บทบาทของผู้เกี่ยวข้องกับการสังเกตและการประเมินพฤติกรรมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย
4. ปัญหาพฤติกรรมที่บกพร่องด้านทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยและแนวทางการช่วยเหลือ

1. การมีความรู้และความตระหนักถึงความสำคัญของการประเมินและสังเกตพฤติกรรม ส่งผลต่อการส่งเสริมและพัฒนาทักษะสมองของเด็กปฐมวัยอย่างมีประสิทธิภาพ
2. การสังเกตและประเมินพฤติกรรมด้วยวิธีการที่ถูกต้องและครอบคลุมจะช่วยให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องแม่นยำ
3. บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสังเกตและประเมินพฤติกรรมมีผลต่อการส่งเสริมและพัฒนาทักษะสมองของเด็กปฐมวัย
4. ปัญหาพฤติกรรมที่สอดคล้องกับทักษะสมอง EF อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กแต่ละคน ทั้งนี้ย่อมเป็นผลที่เกิดจากปัจจัยการเลี้ยงดูและโอกาสที่เด็กควรได้รับในการพัฒนาทักษะสมอง EF

1. นำเสนอได้ถึงความสำคัญ
และความจำเป็นของการ
สังเกตและการประเมิน
พฤติกรรมที่สอดคล้องกับ
ทักษะสมอง
EF ของเด็ก
ปฐมวัยได้

2. วิเคราะห์ได้ว่าพฤติกรรม
ใดบ้างที่สอดคล้องกับทักษะ
สมอง
EF ในแต่ละทักษะ
3. อภิปรายได้ถึงบทบาท
วิธีการสังเกตและประเมิน
ที่ถูกต้อง เหมาะสมของผู้ที่
เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก
ปฐมวัย
4. นำความรู้ในการสังเกตและประเมินพฤติกรรมที่
สอดคล้องกับทักษะสมอง
EF
ไปใช้ในการวิเคราะห์ผู้เรียน
เป็นรายบุคคลได้

 

 

 

1. แนะนำจุดมุ่งหมาย ขอบข่าย
เนื้อหา และกระบวนการเรียนรู้
ของสาระที่จะเรียนรู้วันนี้

2. แบ่งกลุ่มอภิปรายถึงความสำคัญ และความจำเป็นของการสังเกตและการประเมินพฤติกรรมที่สอดคล้องกับทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย และนำเสนอ
3. แต่ละกลุ่มนำแบบบันทึกการ
สังเกตพฤติกรรมเด็กจาก
สถานการณ์จริงคนละหนึ่งกรณี
มาวิเคราะห์พฤติกรรมที่สอดคล้องกับทักษะสมอง
EF
แต่ละด้าน และนำเสนอ
4. สืบค้นรายบุคคล ทั้งจากเอกสารประกอบการสอน ข้อมูลทางการศึกษา และผลงานวิจัย
ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะ
สมอง
EF เพื่อหาแนวทางในการ
สังเกตและการประเมินผล
และบทบาทที่ถูกต้องและ
เหมาะสมของผู้สังเกตและประเมินพฤติกรรม
5. สะท้อนสิ่งที่เรียนรู้จาก
ประสบการณ์ตรงในการเป็นผู้
สังเกตและประเมินพฤติกรรมเด็ก
และบอกได้ถึงแนวทางการพัฒนา
ตนเอง เพื่อให้เป็นผู้ที่สังเกตและ
ประเมินพฤติกรรมผู้เรียนที่มี
คุณภาพ

สัปดาห์ที่ 14
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมพัฒนาทักษะสมอง EF

1. ลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF และตัวอย่างของกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF
1)  กิจกรรมศิลปะที่เน้น
กระบวนการ

2) การเล่นอิสระ
3) การเล่นบทบาทสมมติและ
การเล่นละคร
4) กิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะ
สมอง
EF บนพื้นฐานพัฒนาการทั้งสี่ด้าน
2. การออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เชื่อมโยง EF ที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย
3. การออกแบบ การจัด
สภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะสมอง
EF

1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้เด็กได้คิด ริเริ่ม ลงมือทำวางแผน ตัดสินใจ ท้าทาย และประเมินตนเอง ย่อมเป็นโอกาสที่เด็กจะได้พัฒนาทักษะสมอง EF
2. การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีต้องสอดคล้องกับพัฒนาการตามวัยของเด็ก มีความหมายต่อผู้เรียน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นการ
เรียนรู้อย่างมีความสุข
3. เด็กมีความไวต่อสภาพ แวดล้อมที่อยู่รอบตัว การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจึงมีอิทธิพลต่อคุณภาพการเรียนรู้ และการพัฒนาทักษะสมอง EF ของเด็ก

 

1. นำเสนอได้ถึงความสำคัญ
และความจำเป็นของการ
สังเกตและการประเมิน
พฤติกรรมที่สอดคล้องกับ
ทักษะสมอง
EF ของเด็ก
ปฐมวัยได้

2. วิเคราะห์ได้ว่าพฤติกรรม
ใดบ้างที่สอดคล้องกับทักษะ
สมอง
EF ในแต่ละทักษะ
3. อภิปรายได้ถึงบทบาท
วิธีการสังเกตและประเมิน
ที่ถูกต้อง เหมาะสมของผู้ที่
เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก
ปฐมวัย
4. นำความรู้ในการสังเกตและประเมินพฤติกรรมที่
สอดคล้องกับทักษะสมอง
EF
ไปใช้ในการวิเคราะห์ผู้เรียน
เป็นรายบุคคลได้

1. แนะนำจุดมุ่งหมาย ขอบข่าย
เนื้อหา และกระบวนการเรียนรู้
ของสาระที่จะเรียนรู้วันนี้

2. ชมคลิปวีดิโอการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF แบ่งกลุ่มนักศึกษาเพื่อวิเคราะห์กิจกรรมจากคลิปวีดิโอ และนำเสนอ
3. แต่ละกลุ่มระดมสมองเพื่อบูรณาการและออกแบบการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF ที่เหมาะกับแต่ละช่วงวัย และสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเกิดทักษะ EF อะไรบ้าง ในขั้นตอนใด
4. ร่วมกันวิเคราะห์ว่าสภาพแวดล้อม ในห้องเรียนแบบใดที่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF

 

สัปดาห์ที่ 15
บทบาท และกระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF

1. คุณลักษณะและบทบาทของครูปฐมวัยที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF
2. การประเมินการพัฒนาทักษะสมอง EF
1) การประเมินการวางแผนการจัดประสบการณ์
2) การประเมินการสะท้อน
ความคิดหลังการสอน

 

1. ครูปฐมวัยเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลในการส่งเสริมหรือยับยั้งการเรียนรู้และการพัฒนาของเด็กปฐมวัย
2. การประเมินผลทั้งการวางแผน และการสะท้อนความคิดหลังสอน ส่งผลต่อคุณภาพของการประสบการณ์
การเรียนรู้ ที่จะมีผลโดยตรงทั้งต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของครู และผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
1. นำเสนอคุณลักษณะและ
บทบาทสำคัญของครูปฐมวัย
ที่มีต่อการพัฒนาทักษะ
สมอง
EF ให้กับเด็กปฐมวัย
2. นำวิธีการตรวจสอบคุณภาพแผนการจัดประสบการณ์ มาประเมินการแผนการจัดประสบการณ์ และปรับปรุง ให้ดีขึ้น
3. เห็นคุณค่าของการทบทวนกระบวนการสอน กระบวน การเรียนรู้ให้เป็นไปตามแผนกิจกรรม และการสะท้อนความคิดหลังสอน

1. แนะนำจุดมุ่งหมาย ขอบข่าย
เนื้อหา และกระบวนการเรียนรู้
ของสาระที่จะเรียนรู้วันนี้

2. แบ่งกลุ่มเพื่อร่วมกันวิเคราะห์และค้นหาคุณลักษณะ และบทบาทสำคัญของครูปฐมวัย ต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF เพื่อ
นำเสนอ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ในกลุ่มใหญ่
3. ฝึกวิเคราะห์การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย EF
Guideline
4. ร่วมกันประเมินคุณค่าของการ
ทบทวนกระบวนการการสอน การจัดกระบวนการเรียนรู้ตาม
แผนการจัดประสบการณ์ และการสะท้อนความคิดหลังสอน

 

โครงการจัดอบรมหลักสูตร “สมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย”

เพื่อพัฒนาอาจารย์ในสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักสูตร “สมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย”ทั้งด้านทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะสมอง EF-Executive Functionsในเด็กปฐมวัยรวมทั้งให้สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องสมอง การเรียนรู้ และทักษะสมอง EF แก่นักศึกษาครูปฐมวัยทั้งในภาคทฤษฎีและการปฏิบัติได้          

โครงการอบรมหลักสูตร “ทักษะสมอง EF กับการเรียนรู้”

เพื่อพัฒนาอาจารย์ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ให้มีเจตคติ ความรู้ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะสมอง EF-ExecutiveFunctionsในเด็กช่วงประถมและมัธยมศึกษา ให้อาจารย์สามารถบูรณาการความรู้ทักษะสมอง EF-Executive Functionsเข้าไปในการจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษาครู เพื่อให้นักศึกษาครูสามารถนำความรู้นี้ไปใช้ในการพัฒนานักเรียนชั้นประถมและมัธยมที่ตนสอนในอนาคตต่อไป

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “EF Facilitator สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ” ผ่านสื่อออนไลน์

เพื่อให้คณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ คณะครุศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย สามารถเอื้ออำนวยการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมได้ มีเจตคติ มีองค์ความรู้ สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ และขยายองค์ความรู้เรื่องสมองกับการเรียนรู้ และทักษะสมอง EF ให้แก่นักศึกษา อาจารย์ ผู้ปกครองและบุคคลทั่วไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นไปตามหลักการการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ที่ส่งผลให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขึ้นในทุกส่วน  

อบรมคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏครั้งที่ 1

บึ้มลีเมอร์คอลัมนิสต์ บัตเตอร์เอ๊าะ เดี้ยงเฟิร์มโปรดักชั่นแซวฟีด ป๊อกคาเฟ่ทัวริสต์โค้ช ซูชิเซ็นเซอร์ บอมบ์ทีวีอิมพีเรียล ดราม่าเซรามิกโลชั่น โรแมนติกบรา ซีดานตอกย้ำดยุค สเปคฟรังก์แรลลี เทปนายแบบหมั่นโถว ว้อดก้าลาตินเบนโล สหรัฐนิวซาดิสต์โก๊ะแพลน จิ๊ก จิ๊กไหร่บ๊วย เปปเปอร์มินต์สเตชันโอเวอร์สเปครีโมท

THAILAND EF PARTNERSHIP

เครือข่ายไทยแลนด์ อี เอฟ พาร์ทเนอร์ชิพ