096-356-9461 support@rlg-ef.com
Slide
Slide
Slide
Slide

การขับเคลื่อนองค์ความรู้ EF ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ (สังเคราะห์)

1)  ผลผลิต

  • องค์ความรู้เรื่องทักษะสมอง EF เข้าไปอยู่ในหลักสูตรของสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในชื่อ รายวิชาสมองกับการเรียนรู้ จำนวน 34 แห่ง ในชื่อ ทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย 3 แห่ง และบูรณาการในรายวิชาอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งหมดในทุกชั้นปี
  • อาจารย์สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ผ่านการอบรมหลักสูตร “สมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย” จำนวน 160 คน จาก 38 มหาวิทยาลัยราชภัฏ
  • อาจารย์สาขาอื่นๆ ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ผ่านการอบรมหลักสูตร “สมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย” จำนวน 432 คน
  • อาจารย์ได้รับการอบรมหลักสูตร “EF Facilitator สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ”
    จำนวน 74 คน    

2)  การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

  • ตัวผู้สอนเปลี่ยน
     เป็น active teacher
    –  มุ่งเป้าหมาย พยายาม กระตือรือร้น ค้นคว้า ประเมินตนเองอย่างต่อเนื่อง
    –  ใฝ่รู้ ต้องการพัฒนาความรู้  เข้าร่วมการอบรม ฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง
    –  บริหาร จัดระบบ เตรียมแผนการสอนอย่างละเอียด สะท้อนคิดหลังการสอน
    –  มีความสุข มีทัศนคติเชิงบวก
    –  มีความคิดใหม่
    : เลิกโทษคนอื่น ลงมือทำเอง
    –  เห็นคุณค่า เห็นศักยภาพ เห็นความแตกต่างของนักศึกษา สนใจนักศึกษาเป็นรายบุคคลมากขึ้น
    –  ปรับบทบาทตัวเองเป็นผู้สนับสนุน กระตุ้น จูงใจ
  • กระบวนการสอนเปลี่ยน
    –  teacher center Ò child center (ไม่ได้มองว่าครูจะสอนอะไร แต่ดูว่านักศึกษาจะเรียนรู้อะไร)
    –  มุ่งความรู้
    Ò สร้างเจตคติ (ให้เห็นคุณค่าตนเอง/ สิ่งที่เรียนรู้/ ผลที่จะเกิดกับเด็กปฐมวัย)
    –  active learning เปิดโอกาสให้นักศึกษาเป็นผู้เลือก ผู้สร้างสรรค์กิจกรรม ลงมือทำมีส่วนร่วมในการสอน ให้ได้สะท้อนคิด / ใช้กิจกรรม ใช้สื่อการสอนหลากหลาย  / กิจกรรมโยงสู่เนื้อหา / โยงกิจกรรมสู่การพัฒนาทักษะนักศึกษา / เชื่อมโยงความรู้กับประสบการณ์เดิม
    ผ่านการลงมือปฏิบัติ 
  • นักศึกษาเปลี่ยน
    – เป็น active learner : ใฝ่รู้ รับผิดชอบ มีความสุขในการเรียน ไม่สาย ไม่ขาด กระตือรือร้น  มีวินัย
      ตื่นตัว จากการได้คิด ได้วิเคราะห์ ได้มีส่วนร่วม
    –  กล้าแสดงออก กล้าคิด กล้าสะท้อนความคิด กล้าทำ กล้าลอง-ไม่กลัวผิด
    –  มีตัวตน เจตคติต่อตัวเองดีขึ้น เชื่อมั่นในตัวเอง เห็นศักยภาพ เห็นตุณค่าในวิชาชีพครู
    –  เปิดใจ กับอาจารย์ และเพื่อน  

สาขาวิชาเปลี่ยน
– เกิดทีมเวิร์ค มีการวางแผนร่วม รับผิดชอบร่วม มีวิธีการสอนไปในทิศทางเดียวกัน มีการจัดการความรู้ร่วมกัน มีวง PLC มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

3) ความสำเร็จที่เห็นได้ชัด

  • เกิดการนำองค์ความรู้ EF และเครื่องมือต่างๆ ไปเผยแพร่ใน รร.เครือข่าย ทำการจัดการอบรมให้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง EF / ได้ตัวอย่างสื่อและกิจกรรมที่นักศึกษานำไปทดลองใช้แล้วได้ผลดี
  • เกิดการขยายเครือข่ายการทำงานประสานกันระหว่างมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยกับศึกษานิเทศก์ และกับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
  • เกิดการทำวิจัยหลายหัวข้อที่เกี่ยวกับ EF ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
  • เกิดสื่อการเรียนรู้เรื่อง EF ซึ่งเป็นผลงานของนักศึกษา และนักศึกษาได้นำไปทดลองใช้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาลและชุมชน
  • อาจารย์เกิดการเปลี่ยนแปลง เมื่ออาจารย์เปลี่ยน นักศึกษาเปลี่ยน ห้องเรียนเปลี่ยน
  • อาจารย์กลายเป็น “อาจารย์ที่มีอยู่จริง” ในห้องเรียนและในใจนักศึกษา อาจารย์

 

4) ปัจจัยความสำเร็จ

  • การทำ MOU – ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง สภาคณบดีคณะครุศาสตร์ สถาบันRLG และ สสส. ที่ทำให้เกิดการร่วมมือกันผลักดันการขับเคลื่อนงานอย่างจริงจัง
  • ผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยราชภัฏให้ความสำคัญ
    – ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์ฯ เปิดรับองค์ความรู้  EF มองเห็นเป็นโอกาสที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลักสูตรการเรียนการสอน จึงผลักดันและขอความร่วมมือให้ทุกสถาบันเข้าร่วมการอบรมและร่วมกิจกรรมทุกครั้ง
    – รองอธิการบดี คณบดี รองคณบดี ประธานหลักสูตร หัวหน้าสาขาวิชา ของหลายสถาบัน เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เข้าร่วมการอบรม ส่งอาจารย์ในสังกัดเข้าร่วมอบรม ร่วมกิจกรรม และให้การสนับสนุนเมื่ออาจารย์นำมาสอนนักศึกษา ไม่ว่าจะเป็นรายวิชา หรือบูรณาการในวิชาต่างๆ
    – ในโครงการระยะที่
    1 (ปี 2562-2563) ประธานสภาคณบดีได้มอบหมายให้เลขานุการสภาคณบดี
    เป็นผู้ประสานงาน ทำให้เกิดการร่วมมืออย่างรวดเร็วและจริงจังในการผลักดันให้เกิดการทำงานตาม
    MOU
  • การบรรจุรายวิชาสมองกับการเรียนรู้เข้าไปในหลักสูตรการผลิตครู ทำให้เรื่องของทักษะสมอง EF มีความยั่งยืน เป็นหลักประกันได้ว่านักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัยทุกคนจะได้เรียนรู้เรื่องของสมองและ EF
  • กระบวนการขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ปี 2562-2564  ได้มีการวางกระบวนการขับเคลื่อนงานที่ครอบคลุม เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายนำไปใช้ได้จริง เกิดผลลัพธ์ที่จ้องการจริง และเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ดังนี้   นำเสนอองค์ความรู้เรื่อง EF ให้กับที่ประชุมสภาคณบดี โดยนักวิชาการจาก Thailand EF Partnership และสถาบัน RLG  ในช่วงเวลาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งกำลังปรับหลักสูตร
    จาก
    5 ปีเป็น 4 ปี  : การนำเสนอเป็นไปอย่างกระชับ ชัดเจน เข้าใจง่าย ชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นหากเรื่องของสมองและ EF เข้าไปอยู่ในหลักสูตรการผลิตครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
    2. จัดทำหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับอาจารย์สาขาปฐมวัย โดยคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำหลักสูตรการศึกษา ด้านทักษะสมอง EF และด้านกระบวนการเรียนรู้  จากเครือข่าย Thailand EF Partnership ร่วมกับตัวแทนคณาจารย์สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีประสบการณ์ (เคยร่วมการอบรม EF กับสถาบัน RLGและได้เริ่มเผยแพร่ความรู้ EF มาแล้ว) จำนวน 14 คน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ 11 แห่ง ใช้เวลาในการจัดทำหลักสูตร  5 วัน หลักสูตรนี้ใช้ในการอบรมอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศจำนวน 2 รุ่นในเวลาต่อมา
  1. จัดทำ “คู่มือการอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมอาจารย์สาขาการศึกษาปฐมวัย ในสาระวิชาสมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย” โดยคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำหลักสูตรการศึกษา ด้านทักษะสมอง EF และด้านกระบวนการเรียนรู้  จากเครือข่าย Thailand EF Partnership และคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจำนวน 14 คน คู่มือนี้คณาจารย์ที่สอนในรายวิชาสมองกับการเรียนรู้ และรายวิชาอื่นๆ ได้นำไปเป็น “คู่มือ” เพื่อการสอนและปรับประยุกต์ใช้ต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน
    4. จัดอบรมหลักสูตร “สมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย” ให้กับอาจารย์สาขาการศึกษาปฐมวัย 38 แห่งทั่วประเทศ จำนวน 160 คน หลังจากการอบรมและเปิดการเรียนการสอนอาจารย์เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านความรู้ ทักษะ เจตคติ  ผู้สอนเปลี่ยน  ห้องเรียนเปลี่ยนนักศึกษาเปลี่ยน
  2. จัดอบรมหลักสูตร EF Facilitator สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม(Participatory Learning) จำนวน 74 คน เพื่อให้อาจารย์เป็นแกนนำในการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมไปใช้ในการเรียนการสอนและการทำงาน
     6. จัดอบรมหลักสูตร “สมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย” ให้กับอาจารย์สาขาอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 432 คน อาจารย์ที่เข้ารับการอบรมนำทักษะความรู้ที่ได้บูรณาการในรายวิชาที่สอน
  • มีการติดตามความก้าวหน้า

เพื่อรับทราบความก้าวหน้าในการจัดการเรียนการสอน การเผยแพร่ความรู้สู่เครือข่าย เพื่อจะได้ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือคณาจารย์ได้อย่างทันการณ์และทั่วถึง ได้จัดให้มีการติดตามและพัฒนาความรู้อย่างสม่ำเสมอในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การสัมมนาเพื่อประเมินและติดตามความก้าวหน้า /การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏปีละ 2-3 ครั้ง / การพูดคุยไต่ถามอย่างไม่เป็นทางการ

  • คณาจารย์ได้รับการพัฒนาความรู้อย่างสม่ำเสมอ

ในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งจัดปีละ 2-3 ครั้ง คณาจารย์จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนรายวิชาสมองกับการเรียนรู้ การบูรณาการในรายวิชาอื่นๆ  และเติมเต็มความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ-นักวิชาการ

  • คณาจารย์ได้รับการสนับสนุนข้อมูล ความรู้ สื่อ อย่างสม่ำเสนอ
    ทั้งที่เป็น hard copy ได้แก่ คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF 4 ช่วงวัย, คู่มือ EF เล่มเล็ก, โปสเตอร์ พัฒนาทักษะสมอง EF, สื่อของเล่นล้อมรัก,นิทานอ่านอุ่นรัก และ soft copy ซึ่งคณาจารย์สามารถเข้าไปค้นคว้าและ download เนื้อหา ข้อมูล คลิปวิดีโอ ได้จาก rlg-ef.com และ page พัฒนาทักษะสมอง EF
  • หลักสูตร “สมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย” มีเนื้อหาครบถ้วน เรียงลำดับอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เนื้อหาแม้จะมีเรื่องของสมองก็ไม่ยากเกินไปที่จะเรียนรู้ได้สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1
  • มีการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (participatory) ในทุกการอบรม ซึ่งทำให้คณาจารย์เห็นคุณค่าในตัวเอง ในเพื่อนร่วมงาน ในสิ่งที่ทำเชื่อมั่นในศักยภาพของนักศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้และพัฒนาศักยภาพ / สร้างบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกปลอดภัย โดยให้อิสระทางความคิด ไม่ตัดสินผิด-ถูก ได้รับการยอมรับจากทั้งครูและเพื่อน มีความเป็นกัลยาณมิตร ทั้งหมดนี้นำไปสู่การทำให้อาจารย์เปลี่ยนแปลง สู่การมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน สู่ความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน
  • มีเวทีให้อาจารย์ได้ฝึกฝนและพัฒนาทักษะด้านการเป็น facilitator หลายครั้ง และในขณะเดียวกันในเวทีนั้นๆ นอกจากการได้พัฒนาทักษะการเป็น facilitator ยังได้พัฒนาทักษะความรู้ด้านอื่นๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้
  • มี “คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (4 ปี) และฝึกอบรมอาจารย์สาขาการศึกษาปฐมวัยและสาขาที่เกี่ยวข้องกับทักษะสมอง Executive Functions – EF ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ” ที่จัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ของกระบวนการสอนที่คณาจารย์จะได้นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้กับนักศึกษาที่เรียนสาระวิชา “สมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย” มีความพอเหมาะพอดี ทั้งแก่การทำความเข้าใจกับแนวคิดหลักและคำสำคัญ (Main Concept & Keywords) ที่จัดวางไว้อย่างเป็นลำดับและวิธีการเรียนรู้อย่างมีความหมายและการนำไปประยุกต์ใช้
  • ทีมวิทยากรจากเครือข่าย Thailand EF Partnership หลากหลายสาขา มีความเชี่ยวชาญ แม่นยำในในศาสตร์ ในความรู้ มีประสบการณ์ตรงในการนำองค์ความรู้เรื่อง EF ไปใช้ในโรงเรียนมาก่อน มีเทคนิคและทักษะการถ่ายทอดความรู้ที่ยอดเยี่ยม
  • ความรู้เรื่องสมอง ถูกทำให้เป็นเรื่องที่เข้าใจได้โดยง่าย เนื่องมาจากทีมวิทยากรสามารถสกัดความรู้ สามารถยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม ที่สามารถนำไปใช้จริงกับเด็กในโรงเรียน
  • คณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสาขาการศึกษาปฐมวัย มีลักษณะเฉพาะของการเป็นคนเปิดใจ พร้อมยืดหยุ่น เปิดรับและถนัดกับการเรียนการสอนผ่านกิจกรรม การสอนแบบ active learning
  • มีเครือข่ายอาจารย์ที่เคยผ่านการอบรมด้วยกัน ที่สามารถสนับสนุน แลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้ ปรึกษางานกันได้ทั้งในเรื่อง EF และเรื่องอื่นๆ

5) อุปสรรค

  • การเปลี่ยนประธานสภาคณบดี ทำให้การทำงานขาดช่วง และประธานสภาคณบดีคนใหม่ยังทำงานเชิงรับมากกว่ารุก
  • บางสถาบัน มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร ทำให้การสนับสนุนส่งเสริมไม่ต่อเนื่อง
  • สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 

 

THAILAND EF PARTNERSHIP

เครือข่ายไทยแลนด์ อี เอฟ พาร์ทเนอร์ชิพ