096-356-9461 support@rlg-ef.com
Slide
Slide

เรียนรู้ทักษะสมอง EF ด้วยหัวใจความเป็น “ครู”
พัฒนาสู่“นวัตกรรมการสอน
และห้องเรียนแห่งความสุข ความอบอุ่น ความปลอดภัย”
ที่ใส่ใจและเข้าถึง “ความแตกต่างของผู้เรียน”
เพื่อสร้างก้าวแรกที่แข็งแรงใน“วิชาชีพครูปฐมวัย”

“…นักศึกษาที่ได้เรียนรู้กระบวนการทำงานทักษะสมอง EF แต่ละด้าน จะเข้าใจธรรมชาติ และพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และการออกแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ได้ตรงตามพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัย สร้างสรรค์การสอนที่ยืดหยุ่นเหมาะสม โดยคำนึงถึงการเรียนรู้ และความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก สามารถสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความสุข อบอุ่น ปลอดภัย เพื่อบรรลุเป้าหมายในการสอนที่มุ่งพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เต็มศักยภาพมีความพร้อมสำหรับอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว…”

อาจารย์พจนีย์ เชื้อบัณฑิต
ประธานสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

เรียนรู้ : EF นำไปสู่การสร้าง “ครูปฐมวัย” ที่เข้าถึงใจเด็ก

ก้าวแรกของการขับเคลื่อน EF

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เป็นหนึ่งในพื้นที่ขยายผลการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนองค์ความรู้ EF ในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยมีจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการจากการได้เข้าร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) “โครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาหลักสูตรด้านการส่งเสริมทักษะสมองส่วนหน้า (Executive functions – EF) และพัฒนาอาจารย์สาขาปฐมวัยศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศณ กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2562 ซึ่งดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือระหว่างสภาคณบดีคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ (สครภ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) จากนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์จึงได้เข้าร่วมพัฒนาหลักสูตรรายวิชา สมองกับการเรียนรู้ สำหรับเด็กปฐมวัย และบรรจุเป็นหลักสูตรการสอนแก่นักศึกษาครุศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2562 ซึ่งถือเป็นก้าวแรกและก้าวที่สำคัญในการ สร้างครูยุคใหม่ที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องสมองและการพัฒนาทักษะ EF และเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนแนวใหม่บนพื้นฐานความเข้าใจในความแตกต่างของผู้เรียน จึงได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในห้าศูนย์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ

          ในช่วงเริ่มต้น EF ยังเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่ง่ายนัก ทำให้อาจารย์ผู้สอนต้องทำความเข้าใจกับความรู้เรื่องการพัฒนาทักษะสมอง EF อย่างจริงจัง โดยมี “คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF – Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย” เป็นคัมภีร์สำคัญ เกิดการตีโจทย์เพื่อสร้างกระบวนการคิดและทัศนคติของอาจารย์ที่เข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า ทักษะสมอง EF คือความรู้ที่ช่วยเปิดทางให้ครูเข้าถึงความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น และทำให้ครูจัดเตรียมแผนการสอนและออกแบบกิจกรรมที่มีความยืดหยุ่นและความสุข อบอุ่น ปลอดภัย เมื่อนำไปถ่ายทอดให้นักศึกษาเข้าใจ ฝึกฝน จนมีประสบการณ์เพียงพอ นักศึกษาจะสามารถนำองค์ความรู้เรื่องทักษะสมอง EF ไปปรับใช้ในการเป็นครูปฐมวัยที่ตอบสนองต่อความแตกต่างหลากหลายของเด็กได้     

เป้าหมายและยุทธศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ได้กำหนดเป้าหมายหลักในการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนองค์ความรู้ EF ไว้ ๒ ประการ ประการแรกคือ การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาการส่งเสริมทักษะสมองส่วนหน้าในเด็กปฐมวัย และพัฒนาอาจารย์สาขาการศึกษาปฐมวัย ตามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) โดยเริ่มที่การสอนนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย และขยายผลจากกลุ่มเป้าหมายครูปฐมวัยสู่คณาจารย์และนักศึกษาในสาขาอื่นๆ เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ EF ให้สามารถปรับใช้กับเด็กได้ทุกระดับ

ประการที่สองคือการผลักดันการส่งเสริมและพัฒนาทักษะสมอง EF ในภาคการศึกษาสู่นโยบายระดับจังหวัด โดยได้จัดทำโครงการขับเคลื่อนการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยในระดับพื้นที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งเป้าหมายให้ผู้บริหาร ครูปฐมวัย และผู้ปกครอง ของสถานศึกษาทุกสังกัดในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีความรู้ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการดูแลพัฒนาและจัดการศึกษาให้เด็กปฐมวัยอย่างบูรณาการ

อาจารย์พจนีย์ เชื้อบัณฑิต หรือ อ.หญิง ประธานสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร ผู้ร่วมบุกเบิกการสอนรายวิชา “สมองกับการเรียนรู้ สำหรับเด็กปฐมวัยบอกเล่าประสบการณ์ว่าการนำองค์ความรู้ EF มาขยายผลสู่การปฏิบัตินั้นเริ่มต้นที่ตัวผู้สอน ครูต้องทำความเข้าใจกับ EF อย่างจริงจัง โดยมี “คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF – Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย” เป็นคัมภีร์สำคัญในการกำหนดเนื้อหาหลักสูตร ครูต้องตระหนักว่า EF คือความรู้ที่ช่วยเปิดทางให้ครูเข้าถึงความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น ครูที่มีความเข้า EF อย่างถ่องแท้จะสามารถจัดเตรียมแผนการสอนและออกแบบกิจกรรมที่ยืดหยุ่นและมีสีสันได้ดี เมื่อนำไปถ่ายทอดให้นักศึกษาเข้าใจ ฝึกฝน จนมีประสบการณ์เพียงพอ นักศึกษาจะสามารถนำ EF ไปปรับใช้ในการเป็นครูที่ตอบสนองต่อความแตกต่างหลากหลายของเด็กได้

การพัฒนาองค์ความรู้ และจุดเด่นจากการนำความรู้ EF ไปปฏิบัติ ที่เกิดขึ้น

  • นวัตกรรมการสอนจากห้องเรียนสมองกับการเรียนรู้ “เรียนรู้โดยไม่ได้เรียน”

          จากการพัฒนาแผนการสอนรายวิชา “สมองกับการเรียนรู้ สำหรับเด็กปฐมวัย” อย่างต่อเนื่อง เพื่อรับมือกับลูกศิษย์ใหม่ในแต่ละปี ทำให้ชั้นเรียนของ อ.หญิง เปลี่ยนไป กลายเป็นชั้นเรียนที่ “สอนน้อย เล่นมาก เต็มไปด้วยบรรยากาศการพูดคุย เปลี่ยนรูปแบบการสอนให้นักศึกษาได้ สำรวจ ถอดรหัส และสืบค้น ผ่านเกมหรือการเล่น ทำให้นักศึกษาสัมผัสและเข้าถึงการเรียนการสอนแบบ Active Learning และตกผลึกความรู้ด้วยตัวเอง ผ่านกระบวนการ AAR – Action After Review ที่ชวนสะท้อนความรู้สึก พร้อมค้นหาความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น เป็นการเรียนแบบไม่ต้องเรียน แต่พาผู้เรียนไปสู่การเปลี่ยนแปลงตนเอง มีความเข้าใจเรื่องสมองกับการเรียนรู้ได้อย่างถ่องแท้ ที่สำคัญคือช่วยทำให้นักศึกษาตระหนักถึงคุณค่าตนเองต่อวิชาชีพครูและต่อเด็กปฐมวัยได้อีกด้วย

  • ขยายผลจากครูปฐมวัย ส่งต่อถึงครูทุกช่วงชั้น ขยายสู่งานบริการวิชาการ

          เมื่อบุคลากรภายในภาควิชาพัฒนาแผนการสอนด้วยEF ได้อย่างหลากหลาย จึงขยายความร่วมมือสู่คณาจารย์และนักศึกษาในสาขาอื่นๆ อาทิ นักศึกษาต่างเอกในระดับประถมและมัธยม เกิดวงจรการ ปรับใช้ EF กับเด็กทุกช่วงวัย และมีการบูรณาการองค์ความรู้ EF เป็นหนึ่งในการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย เชื่อมต่อสู่ภาคการศึกษาในระดับจังหวัด ร่วมมือกับผู้บริหารสถานศึกษา ครูปฐมวัย และเครือข่ายผู้ปกครองพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยและขับเคลื่อนความรู้การพัฒนาเด็กด้วย EF ให้เป็นความรู้สำคัญของครูในสถานศึกษาทุกสังสังกัดของจังหวัดฉะเชิงเทรา

  • เชื่อมต่อ EF สู่ระบบการศึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทรา

          คณะครุศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ มีการทำงานในระดับจังหวัด โดยร่วมมือกับผู้บริหารสถานศึกษา ครูปฐมวัย และเครือข่ายผู้ปกครอง ให้มีส่วนร่วมในการดูแลและพัฒนาการจัดการศึกษาให้เด็กปฐมวัยอย่างบูรณาการพร้อมกัน ได้ร่วมกันจัดเวทีแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ด้วย EF จากครูปฐมวัยที่มีนวัตกรรมการสอนที่โดดเด่น เพื่อสร้างห้องเรียนที่ผู้เรียนมีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

  • กระบวนการเรียนการสอนเปลี่ยน
    • Active Learning: เปลี่ยนจาก Teacher-Centered สู่ Learner-Centered
    • ใส่ใจในกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดและลงมือทำ
    • มีความหลากหลาย: กระบวนการเรียนรู้ กิจกรรม สื่อการสอนมีความหลากหลาย

 

  • อาจารย์ผู้สอนเปลี่ยน
    • Active Teacher: มีเป้าหมาย และความกระตือรือร้น มีการเตรียมแผนการสอนและการบริหารอย่างเป็นระบบ และประเมินตนเองต่อเนื่อง
    • มีความสุขในการทำงาน มีทัศนคติเชิงบวก มีพลังสร้างสรรค์ เห็นคุณค่าของตนเอง เห็นคุณค่าของวิชาชีพที่มีต่อการพัฒนาเด็ก
    • คิดใหม่ เปลี่ยนบทบาทตนเองจาก ผู้สอนเป็นผู้สนับสนุน กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการคิดและการเรียนรู้ เข้าใจความแตกต่างของนักศึกษา

 

  • สิ่งแวดล้อมเปลี่ยน
  • เกิดการทำงานเป็นทีม มีการวางแผนร่วมกัน รับผิดชอบร่วมกัน วิธีการสอนไปในทิศทางเดียวกัน มีการจัดการความรู้ร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

กุญแจสู่ความสำเร็จ

  • ครูผู้สอน มีความรู้และประสบการณ์การสอน เปิดกว้าง ยอมรับความรู้ใหม่ที่ไม่คุ้นเคย และพยายามเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง
  • วิธีการสอน: Active Learning ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามศักยภาพและความสนใจของตน
  • การมีเป้าหมายร่วมกัน การจัดการความรู้ที่เป็นระบบในสาขาวิชา
  • ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากผู้บริหาร บุคลากรในสาขาวิชา ความร่วมมือในพื้นที่ ชุมชน

บทเรียนที่อยากบอกต่อ 

  • กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน สำคัญกว่าการถ่ายทอด “ความรู้ ของครู
  • การเรียนรู้ความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสิ่งสำคัญ
  • นักศึกษามีความแตกต่าง มีความสามารถไม่เท่ากัน แต่ทุกคนพัฒนาได้
  • ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน
  • ทำอย่างไรให้เด็กได้เรียนรู้โดยที่เด็กไม่ได้เรียน

การขยายผล : ขยายสู่งานบริการวิชาการ เชื่อม EF สู่การพัฒนาการศึกษาปฐมวัย จ.ฉะเชิงเทรา

          เมื่อบุคลากรภายในภาควิชาสามารถพัฒนาแผนการสอนด้วยความรู้เรื่องทักษะสมอง EF ได้อย่างหลากหลาย จึงขยายความร่วมมือสู่คณาจารย์และนักศึกษาในสาขาอื่นๆ อาทิ อาจารย์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาการศึกษาปฐมวัย นักศึกษาต่างเอก เป็นต้น เกิดวงจรการปรับใช้ความรู้ EF กับเด็กทุกช่วงวัย และมีการบูรณาการองค์ความรู้ EF เป็นหนึ่งในการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย เชื่อมต่อสู่ภาคการศึกษาในระดับจังหวัด ร่วมมือกับผู้บริหารสถานศึกษา ครูปฐมวัย และเครือข่ายผู้ปกครองพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยและขับเคลื่อนความรู้การพัฒนาเด็กด้วย EF ให้เป็นความรู้สำคัญของครูในสถานศึกษาทุกสังสังกัดของจังหวัดฉะเชิงเทรา

ประมวลภาพการทำภารกิจของ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ EF Center

(ภาพ) การเผยแพร่ความรู้ให้กับอาจารย์ นักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย สาขาอื่น ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย

  • ตัวอย่างกิจกรรมเด่นในพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

    • มรภ.ราชนครินทร์เชื่อมต่อ EF สู่ระบบการศึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทรา

              ร่วมมือกับผู้บริหารสถานศึกษา ครูปฐมวัย และเครือข่ายผู้ปกครอง ให้มีส่วนร่วมในการดูแลและพัฒนาการจัดการศึกษาให้เด็กปฐมวัยอย่างบูรณาการพร้อมกัน

    • จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านเด็กปฐมวัย ผู้ดำเนินกิจการ และผู้ปกครองที่รับบริการในสถานรับเลี้ยงเด็กเอกชน ประจำปี ๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๒
  • เวทีแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ด้วย EF จากครูปฐมวัยที่มีนวัตกรรมการสอนที่โดดเด่น ทำให้เกิดห้องเรียนดีๆ ที่มี EF
  • เผยแพร่ความรู้ EF แก่นักเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าความรู้ EF จากสื่อต่างๆ ทั้งนอกและในแพลตฟอร์มการเรียนรู้ Online ที่โครงการฯ ได้จัดทำขึ้นแต่ละช่องทาง อาทิ rlg-ef.com หรือทาง youtube พัฒนาทักษะสมอง EF แล้วนำมาผลิตสื่อความรู้ EF ตามความรู้ ความเข้าใจของตนเอง

(ภาพซ้าย) สรุปความรู้สร้างพลังสมองบันได ๗ ขั้น (ภาพซ้าย) VDO Clip “แม่มีอยู่จริง”

(ภาพบน) กิจกรรมผลิตสื่อสอนทำรถจากขวดพลาสติก และเกมเลื่อนให้ดีมีรางวัล
(ภาพซ้ายล่าง) สอนผลิตสื่อ “จรวดหรรษา” (ภาพล่างขวา) เล่นพัฒนา EF “เลื่อนให้ดี มีรางวัล”

  • ผู้ใหญ่เข้าใจ ใช้ EF อย่างต่อเนื่อง สร้างพัฒนาการเด็กสมวัย !!!
    • ห้องเรียนและครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการฯ สร้างเด็กมีพัฒนาการสมวัยทุกด้าน

การเขียน Mind Mapping ที่อาจารย์ราชภัฏได้รับการถ่ายทอดจากสถาบัน RLG
ช่วยเสริมศักยภาพให้ อ.พจนีย์ ทำบทบาท EF Facilitator ที่มีเทคนิคน่าสนใจได้

THAILAND EF PARTNERSHIP

เครือข่ายไทยแลนด์ อี เอฟ พาร์ทเนอร์ชิพ