096-356-9461 support@rlg-ef.com
Slide
Slide

ธรรมะ ธรรมชาติ ธรรมดา พัฒนาเด็ก
ส่งเสริมทักษะสมอง EF และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
เริ่มต้นจากอนุบาล ขยายฐานถึงมัธยม
พัฒนาศักยภาพ FA EF ครูวิถีธรรมให้เข้มแข็ง
พร้อมสำหรับบทบาทศูนย์กลางการเรียนรู้ทักษะสมอง EF จ.สกลนคร

ก้าวแรกของการขับเคลื่อน EF

เมื่อได้รู้จัก EF ครั้งแรกในปี ๒๕๖๑ คณะผู้บริหารโรงเรียนวิถีธรรมฯ ตระหนักถึงประโยชน์ ความสำคัญ และสนับสนุนแนวทางการพัฒนาเด็กและเยาวชนของภาคี Thailand EF Partnership จึงตัดสินใจร่วมทาง ได้นำความรู้เรื่องการพัฒนาทักษะสมอง EF มาใช้เป็นครั้งแรกกับการเรียนการสอนระดับชั้นอนุบาล โดยเริ่มที่การพัฒนาศักยภาพบุคลากรครูระดับปฐมวัย โดยจัดให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF

พบว่า EF คือโลกแห่งความสนุกและท้าทาย นำไปสู่การถอดรหัสความรู้ เพื่อประยุกต์ใช้กับแผนจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย แล้วนำไปปฏิบัติจนเกิดผล เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์ทั้งตัวครูและนักเรียน

ทีมสกลนคร EF Center มาร่วมงานถอดบทเรียนการขับเคลื่อน EF จัดขึ้นในช่วงดำเนินโครงการฯ ระยะที่ ๑

จากนั้นจึงนำความรู้และประสบการณ์ไปร่วมแบ่งปันในวง PLC ของครู ก่อให้เกิดพลังบวก สร้างความกระตือรือร้นในการส่งเสริม EF ผ่านกิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กให้หลากหลายยิ่งขึ้น เกิดการขับเคลื่อนขยายผลองค์ความรู้ EF มุ่งเป้าเผยแพร่ไปทุกศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนระดับปฐมวัยในจังหวัดสกลนคร โดยปี 256๔ บรรลุผลไปแล้วกว่า ๒๐๐ แห่งจากจำนวนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกว่า ๔๐๐ แห่งใน จ.สกลนคร ภายใต้ชื่อ “สกลนคร EF Center

เมื่อความรู้เข้มแข็ง บุคลากรมีใจและความพร้อม ทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย โรงเรียนวิถีธรรมฯ จึงยกระดับการพัฒนาทักษะสมอง EF ไปยังบุคลากรครูและนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา พร้อมขับเคลื่อนขยายผลการพัฒนาทักษะสมอง EF ตามเจตนารมย์ที่มุ่งมั่นในการทำภารกิจของการเป็นศูนย์เรียนรู้ EF ประจำจังหวัดสกลนครให้ก้าวหน้าต่อไป

เป้าหมายและยุทธศาสตร์

เริ่มต้นจากครูอนุบาล ขยายฐานสู่มัธยมศึกษา

จากความสำเร็จในการนำความรู้ทักษะสมอง EF มาใช้ในห้องเรียนระดับอนุบาล โดยการใช้ EF Guideline เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเด็กระดับอนุบาล โรงเรียนวิถีธรรมจึงตั้งเป้าขยายผลสู่ระดับชั้นประถมและมัธยม โดยเริ่มต้นจากนักเรียนระดับชั้นมัธยม โดยการผนวกความรู้ EF เข้ากับแผนประสบการณ์เรียนรู้วิชาชีวิต นำไปสู่แผนพัฒนาการเรียนรู้ร่วมกับทีมนักวิจัยของบ้านกาญจนาภิเษก เพื่อประยุกต์ความรู้ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กมัธยม และนำไปใช้ในห้องเรียนให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

พัฒนา EF Center ขยายองค์ความรู้ สร้างเครือข่ายครูและพ่อแม่ทั้งจังหวัดสกลนคร

เมื่อบุคลากรมีองค์ความรู้และประสบการณืใช้ EF ที่แข็งแรง รวมทั้งจัดการความรู้อย่างต่อเนื่อง  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จึงสนับสนุนโรงเรียนจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ EF Center เพื่อส่งเสริมและสานต่อความรู้ทักษะสมอง EF จากการปฏิบัติงานของคณะครูไปสู่เครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และสถานศึกษาระดับอนุบาลในเขตพื้นที่บริการวิชาการมหาวิทยาลัยฯ ด้วยการอบรมความรู้ให้ครูนำไปปฏิบัติได้จริง โดยมีครูจากโรงเรียนวิถีธรรมเป็นโค้ชให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ร่วมกับการจัดทำห้องเรียนพ่อแม่ และจัดการความรู้ร่วมกันผ่านวง PLC ทำให้การขับเคลื่อนจึงเกิดผลสัมฤทธิ์เชิงปฏิบัติการได้จริง โดยมีเป้าหมายการขับเคลื่อนสู่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วทั้งจังหวัดสกลนคร จำนวน 478 แห่ง

การพัฒนาองค์ความรู้ และงานเด่นจากการนำความรู้ EF ไปปฏิบัติ ที่เกิดขึ้นจริง

Home Based Learning สร้างกระบวนการเรีบนรู้แบบมีส่วนนร่วม เชื่อมต่อบ้านโรงเรียน

โรงเรียนวิถีธรรมฯ เน้นการทำงานร่วมกับพ่อแม่ผู้ปกครองอย่างหลากหลายวิธี มีการสื่อสารที่น่าสนใจหลายรูปแบบ มีการจัดห้องเรียนครูและพ่อแม่ มีการสรุปการเรียนรู้ประจำสัปดาห์ รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นของผู้ปกครองด้วยวิธีการพูดคุยและในรูปแบบของแบบสอบถาม

ถ่ายทอดความรู้สู่ผู้ปกครองและครูปฐมวัยในจังหวัดสกลนคร

ในฐานะศูนย์เรียนรู้ประจำจังหวัด โรงเรียนวิถีธรรมได้ขับเคลื่อนความรู้ EF สู่ภายนอก โดยเริ่มจากการจัดทำ workshop ให้ความรู้แก่ครูจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 200 คนที่เข้าร่วมเครือข่าย Thailand EF Partnership หลังจากนั้นครูที่ได้เรียนรู้แล้วก็ลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่ของตน โดยมีคุณครูจากโรงเรียนวิถีธรรมเป็นโค้ชให้ ต่อมาคือการจัดทำห้องเรียนพ่อแม่ให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จากนั้นจึงร่วมกันทำกิจกรรมชุมชนเรียนรู้วิชาชีพครู  (PLC) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

พัฒนาทีมครูวิถีธรรม (Fa) อย่างต่อเนื่อง  เพื่อสร้างพลังบวกในการทำงานอย่างสร้างสรรค์

ด้วยกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา โดยในการ ดำเนินกิจกรรมประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 5 ขั้นตอน ดังนี้

  1. Check-in เตรียมความพร้อมในการเรียน โดยการให้สติอยู่กับตัว 2. Dialogue พูดและฟังเพื่อนพูดอย่างใคร่ครวญ ไตร่ตรอง
  2. Reflection ฟังแล้ววิเคราะห์ และสะท้อนความคิด ตามหัวข้อ และประเด็นต่าง ๆ
  3. Check-out การทบทวนบทเรียนด้วยตนเอง ว่าวันนี้ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไร
  4. Journaling จดบันทึก แสดงให้เห็นความก้าวหน้าและทบทวนเป็นระยะๆ ด้วยตารางการเรียนรู้เป็นประจำทุกสัปดาห์ คือ ครูอนุบาลทุกวันอังคาร ครูประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทุกวันพฤหัสบดีของสัปดาห์

ความเปลี่ยนแปลง

  • EF เปลี่ยนทัศนคติและแนวคิดของครู ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะสมอง EF ในนักเรียน
  • สร้างพลังบวกในการทำงานอย่างสร้างสรรค์ แบ่งปัน และช่วยเหลือกัน
  • ครูสื่อสารด้วยพื้นฐานความเข้าใจ ใช้ภาษาเดียวกัน ขับเคลื่อนงานไปในทิศทางเดียวกัน
  • สร้างเครือข่ายการทำงาน ประสานครู ผู้ปกครอง และชุมชม

(ภาพซ้าย) นพ.สมบูรณ์ จิระวัฒนาสมกุล ผู้บริหารผู้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันการขับเคลื่อน EF
(ภาพขวา) กิจกรรมการเผยแพร่ความรู้ EF แก่ครูปฐมวัย ครู ศพด. ของ สกลนคร EF Center

(ภาพ) การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF เด็กนักเรียนระดับชั้นมัธยม

กุญแจสู่ความสำเร็จ

  • ผู้บริหารให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนงานทักษะสมอง EF
  • มีงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครเพื่อจัดทำกิจกรรมและโครงการเป็นยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนทักษะสมอง EF เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ของสถาบันฯ
  • บุคคลากรมีความกระตือรือร้น และมุ่งมั่นพัฒนาความรู้และศักยภาพของตน

บทเรียนที่อยากบอกต่อ 

การทำอะไรก็แล้วแต่ ถ้าเริ่มต้นด้วยความสนุกแล้ว หลังจากนั้นเราก็จะสามารถคิดต่อยอดต่อไปได้อย่างไหลลื่น

ครูแอ๋ว – ศริญตา ศรีชาติ
รักษาการครูใหญ่โรงเรียนวิถีธรรมฯ

THAILAND EF PARTNERSHIP

เครือข่ายไทยแลนด์ อี เอฟ พาร์ทเนอร์ชิพ