096-356-9461 support@rlg-ef.com
Slide
Slide

ขับเคลื่อน EF ด้วยใจ ส่งเสริมให้พ่อแม่เป็นพลัง
สร้างสรรค์การเรียนรู้ ห้องเรียนคู่บ้าน
สร้างแกนนำขยายผลจากรุ่นสู่รุ่น
หนุนเสริมการฝึกปฏิบัติ
เชื่อมทักษะสมองสู่แผนจัดประสบการณ์

ก้าวแรกของการขับเคลื่อน EF

โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทาราม EF Center มีจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อน EF จากการส่งตัวแทนครูเข้าร่วมอบรมในโครงการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในกลุ่มเยาวชน กับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป..ส.) มีการนำความรู้มาขยายผลกับเพื่อนครูในโรงเรียน เกิดการประยุกต์ใช้กับตัวครูและแผนจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย ต่อมามีโอกาสร่วมเป็นภาคีขับเคลื่อนการพัฒนาเยาวชนด้วยทักษะสมอง EF กับโครงการดาว-อีเอฟ พัฒนาเยาวชนสู่ความสำเร็จ เพื่อระยองผาสุกสนับสนุนโดยกลุ่มบริษัทดาว ประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรภาคีเครือข่าย Thailand EF Partnership ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ของบุคลากรในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง เกิดการบูรณาการทักษะสมอง EF เข้าสู่กิจกรรมการเรียนรู้ และกิจวัตรประจำวันของเด็กอย่างเต็มรูปแบบ

เป้าหมายและยุทธศาสตร์

โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทาราม EF Center นำความรู้ทักษะสมอง EF มาเป็นสร้างสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน ปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอน และสร้างสรรค์กิจกรรมการพัฒนาเด็กรูปแบบหลากหลาย เพื่อสร้างพลเมืองคุณภาพร่วมกับแกนนำภาคการศึกษา ภาคการพัฒนาชุมชน หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ส่งเสริม EF ต้นแบบจังหวัดระยอง ร่วมกับภาคี Thailand EF Partnership ตามนโยบายการพัฒนาเยาวชนด้วยทักษะสมอง EF ของจังหวัดระยอง

พัฒนา EF Center ขยายองค์ความรู้ สร้างเครือข่ายครูและพ่อแม่ทั้งจังหวัดสกลนคร

เมื่อบุคลากรมีองค์ความรู้และประสบการณืใช้ EF ที่แข็งแรง รวมทั้งจัดการความรู้อย่างต่อเนื่อง  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จึงสนับสนุนโรงเรียนจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ EF Center เพื่อส่งเสริมและสานต่อความรู้ทักษะสมอง EF จากการปฏิบัติงานของคณะครูไปสู่เครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และสถานศึกษาระดับอนุบาลในเขตพื้นที่บริการวิชาการมหาวิทยาลัยฯ ด้วยการอบรมความรู้ให้ครูนำไปปฏิบัติได้จริง โดยมีครูจากโรงเรียนวิถีธรรมเป็นโค้ชให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ร่วมกับการจัดทำห้องเรียนพ่อแม่ และจัดการความรู้ร่วมกันผ่านวง PLC ทำให้การขับเคลื่อนจึงเกิดผลสัมฤทธิ์เชิงปฏิบัติการได้จริง โดยมีเป้าหมายการขับเคลื่อนสู่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วทั้งจังหวัดสกลนคร จำนวน 478 แห่ง

การพัฒนาองค์ความรู้ และงานเด่นจากการนำความรู้ EF ไปปฏิบัติ ที่เกิดขึ้น

ขับเคลื่อนความรู้ EF สู่ผู้ปกครอง สร้างแกนนำขยายผล จากรุ่นสู่รุ่น

ด้วยผลลัพธ์ที่เด่นชัดจากห้องเรียน เป็นแรงบันดาลใจให้ครูระดับปฐมวัยเกิดความเชื่อมั่น และพัฒนาความรู้อย่างสม่ำเสมอ จนสามารถออกแบบกิจกรรมและใช้เครื่องมือเพื่อเสริมสร้างทักษะสมองEF ได้อย่างเชี่ยวชาญ เกิดเป็นแกนนำถ่ายทอดความรู้สู่เครือข่ายครูในพื้นที่ รวมทั้งต่อยอดความร่วมมือสู่พ่อแม่ผู้ปกครอง ให้นำความรู้เรื่องการพัฒนาทักษะสมอง EF ไปใช้เลี้ยงดูและส่งเสริมเด็กต่อเนื่องที่บ้าน

ด้วยกิจกรรมอบรมให้ความรู้ อาทิ กิจกรรมรักลูกให้ถูกทาง กิจกรรม ‘Learning Style by Watkhod’ สนับสนุนให้ผู้ปกครองนำความรู้ EF ไปใช้ในชีวิตประจำวันกับบุตรหลานที่บ้าน ทำให้เด็กเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมาก เกิดแกนนำผู้ปกครองให้ความร่วมมือ เป็นวิทยากรเผยแพร่ประสบการณ์การใช้ทักษะสมอง EF จากรุ่นสู่รุ่นอย่างต่อเนื่อง แม้ในสถานการณ์ COVID-19 ผู้ปกครองยังคงร่วมมือกับโรงเรียนทำกิจกรรมตามแผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ที่บูรณาการทักะสมอง EF ด้วยการถ่ายคลิปวีดิโอเด็กทำงานบ้านมาส่งคุณครู อย่างสม่ำเสมอ นับเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาลูกหลานในชุมชนอย่างมีส่วนร่วมที่เข้มแข็ง

ความเปลี่ยนแปลง

ทักษะสมอง EF ช่วยเด็กเก่งขึ้น ครูเหนื่อยน้อยลง

หลังจากที่โรงเรียนบูรณาการทักษะสมอง EF กับกิจกรรมการเรียนรู้และกิจวัตรประจำวันของเด็กอย่างเต็มรูปแบบ เมื่อลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องพบว่าเด็กเรียนรู้จากครูได้เร็วขึ้น รับฟังและควบคุมตัวเองได้ดีขึ้นเมื่อมาถึงโรงเรียน เด็กจะรู้ว่าต้องทำอะไร ทำอย่างไร ช่วยให้ครูเหนื่อยน้อยลงจัดการอารมณ์ตัวเองได้ดีและมีความสุขมากกว่าเดิมขณะที่นักเรียนก็มีความสุขและสนุกกับชั้นเรียนมากขึ้น ครูอนุบาลจึงเกิดแนวคิดขยายผลความรู้และวิถีปฏิบัติแบบครู EF สู่ครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อรับช่วงต่อในการดูแลและส่งเสริมทักษะสมอง EF กับเด็กอย่างต่อเนื่อง

กุญแจสู่ความสำเร็จ

  • มีการขับเคลื่อน EF สู่ผู้ปกครองอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยการอบรมให้ความรู้แกนนำผู้ปกครองจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อให้แกนนำผู้ปกครองขยายผลสู่ผู้ปกครองคนอื่นๆ และนำความรู้ไปปฏิบัติกับลูกหลานที่บ้าน
  • พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กนักเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

บทเรียนที่อยากบอกต่อ 

 

“พอรับเด็กที่ผ่าน EF มา (จากระดับปฐมวัย) เรามีความรู้สึกว่าเค้าเรียนรู้จากเราได้เร็วขึ้น รู้จักเคารพกติกา เราพูดไป เค้าก็จะนิ่งขึ้น มีการโต้ตอบ… เรื่องทักษะ EF ไม่ใช่เด็กได้อย่างเดียว ครูก็ได้ด้วย ครูสงบได้มากยิ่งขึ้น ยอมรับเด็กได้มากขึ้น”

ครูยิ้ม – อรุณี วังบอน
โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทาราม

ภาพการบ้านเด็กๆ ส่งคุณครู โดยความร่วมมือจากพ่อแม่ ผู้ปกครองทางบ้าน ในช่วงโควิด ๑๙

(ภาพ) พ่อแม่ ผู้ปกครองอ่านหนังสือกับลูก เล่นกับลูก
ตามแนวทางการพัฒนา EF กิน กอด เล่น เล่า ช่วยเหลือตัวเอง และทำงานบ้าน
(ภาพ) ส่งการบ้าน – เด็กๆ นักเรียนถ่ายภาพ / คลิป ส่งการบ้านช่วงโควิด ๑๙ ที่ไม่ได้ไปเรียนที่โรงเรียน

THAILAND EF PARTNERSHIP

เครือข่ายไทยแลนด์ อี เอฟ พาร์ทเนอร์ชิพ