โลกในศตวรรษที่ 21 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผวน (Disruptive World) เป้าหมายและกระบวนการในการสร้างคนรุ่นใหม่ที่จะสามารถดำรงชีวิตให้อยู่รอด มีสุขภาวะที่ดีในทุกมิติ ทั้งร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา รวมทั้งมีความสามารถสร้างสรรค์ เพื่อเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ อันจะเป็นรากฐาน ของการสร้างสังคมสุขภาวะของประเทศไทย จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง
นักวิชาการจากทั่วโลกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนามนุษย์ ทั้งจากประสาทวิทยาศาสตร์ จิตวิทยา และการศึกษา ค้นพบและยอมรับกันทั่วไปแล้วว่า ทักษะสมองที่เรียกว่า Executive Functions (EF) เป็นทักษะที่สำคัญยิ่งยวด เป็นศักยภาพที่มนุษย์ทุกคนมีมาแต่กำเนิด แต่จะต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นรากฐานอันแข็งแกร่งของการพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) การคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การสื่อสาร (Communication) การทำงานรวมหมู่ (Collaboration) การมีบุคลิกภาพที่เข้มแข็ง แต่ยืดหยุ่น ปรับตัว การยอมรับความแตกต่าง และการอยู่ ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขในสังคม รวมถึงการมีสุขภาวะที่ดีในทุกมิติ
ความรู้เกี่ยวกับทักษะสมอง Executive Functions (EF) ชี้ชัดว่า การพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า (EF) ใช้ระยะเวลายาวนานจากขวบปีแรก จนถึงประมาณวัยผู้ใหญ่ตอนต้น (25-30 ปี) แต่ช่วงปฐมวัยเป็นช่วง เวลาที่สำคัญที่สุด และมีอัตราการพัฒนาได้ดีที่สุดที่จะปลูกฝังทักษะ EF ได้อย่างมีประสิทธิภาพจนเป็น บุคลิกภาพ หากพ้นช่วงเวลานี้ไปแล้ว โอกาสแห่งการพัฒนาคุณลักษณะแห่งสุขภาวะทุกด้านของชีวิตก็จะ ลดลง
จึงเป็นความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่ครูปฐมวัยรุ่นใหม่ทุกคน จะต้องเข้าใจธรรมชาติสมองของเด็กปฐมวัยให้ชัดเจนและลึกซึ้ง เพื่อเปิดโอกาสให้สมองของเด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริมทักษะสมอง Executive Functions (EF) ดังนั้น ไม่เพียงแต่ครูปฐมวัยรุ่นใหม่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้ Executive Functions เพื่อเป็นพื้นฐานในการออกแบบ จัดการเรียนรู้ และประเมิน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กปฐมวัยในช่วงวัยที่สำคัญที่สุดนี้เท่านั้น หากแต่ครูรุ่นใหม่ทุกคน ไม่ว่าจะสอนวิชาใดๆ ก็มีความจำเป็นยิ่งที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติการทำงานของสมอง และทักษะสมองส่วนหน้า ว่าพฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็กทุกวัยทุกด้านเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองทั้งสิ้น
Recent Comments