096-356-9461 support@rlg-ef.com

เสริมองค์ความรู้แก่… คณาจารย์

 สร้างพื้นฐาน EF ที่แข็งแกร่งให้… นักศึกษาครู

เชื่อมองค์ความรู้ EF ใน… หลากหลายรายวิชา

ขยายผลและส่งต่อคุณค่าสู่… เครือข่ายการศึกษาทุกช่วงวัย

ก้าวแรกของการขับเคลื่อน EF

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาเริ่มก้าวสู่โลกของ EF ในปี พ.ศ. 2562 โดยการส่งคณะอาจารย์ในสาขาการศึกษาปฐมวัยจำนวน 6 คนเข้าร่วมการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องของทักษะสมอง EF ตามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) “โครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาหลักสูตรด้านการส่งเสริมทักษะสมองส่วนหน้า (Executive functions – EF) และพัฒนาอาจารย์สาขาปฐมวัยศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศซึ่งดำเนินงานโดยสถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสภาคณบดีคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ (สครภ.) จากนั้นจึงได้นำองค์ความรู้มาพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและเริ่มทำการสอนในปีการศึกษา 2562 เป็นต้นมา

เป้าหมายและยุทธศาสตร์

ด้วยความเชื่อมั่นว่า “EF คือกุญแจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพครู” มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จึงเริ่มขับเคลื่อน EF อย่างจริงจัง ตามนโยบายผู้บริหารที่สนับสนุนการนำองค์ความรู้ EF มาเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาการศึกษาปฐมวัยทุกชั้นปี ทั้งในหลักสูตร 5 ปี และ หลักสูตร 4 ปี โดยบูรณาการเข้ากับรายวิชาสำคัญต่างๆ นำไปสร้างการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมในห้องเรียน รวมทั้งฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะและสมรรถนะเพียงพอที่จะสามารถนำ EF ไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กได้อย่างเหมาะสม

บูรณาการ EF สู่ 8 รายวิชา สร้างทักษะสมองพัฒนาเด็กรอบด้าน

หลังจากตัวแทนคณะอาจารย์เข้าอบรมการนำ EF มาใช้ในพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย นำมาสู่การผลักดันให้เกิดการบรรจุองค์ความรู้ EF เป็นหนึ่งในความรู้สำคัญของการพัฒนานักศึกษาครูสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย เพื่อปลูกฝังความรู้ความเข้าใจและทักษะการนำไปใช้ได้อย่างรอบด้าน

8 รายวิชากับองค์ความรู้ EF

  • การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
  • การช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีความจำเป็นพิเศษ
  • การจัดกิจกรรมทางศิลปะระดับการศึกษาปฐมวัย
  • การจัดกิจกรรมการเล่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
  • สมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
  • วรรณกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย
  • การจัดกิจกรรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • การจัดกิจกรรมทางภาษาและการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย

กิจกรรมเด่น

แม้ปัจจุบันการเรียนรู้และเผยแพร่องค์ความรู้ EF ยังเป็นกิจกรรระหว่างอาจารย์และนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยเป็นหลัก แต่ในอนาคตอันใกล้เมื่อสถานการณ์เหมาะสมมหาวิทยาลัยตั้งเป้าหมายการขยายผลสู่บุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยภายในจังหวัดนครราชสีมา อาทิ ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูโรงเรียนในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อนำองค์ความรู้EF เข้าสู่การปฏิบัติในห้องเรียนได้อย่างแพร่หลายยิ่งขึ้น

      >EF กับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

  • เชื่อมโยง EF ระหว่างบ้านกับโรงเรียน

กิจกรรมให้ความรู้ EF กับผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 30 คน

ความเปลี่ยนแปลง

  • อาจารย์ – มีความรู้ ความเข้าใจในทักษะ EF ตระหนักถึงความสำคัญขององค์ความรู้ EF และพร้อมที่จะัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง
  • นักศึกษา – มีทักษะในการนำองค์ความรู้ EF ไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย
  • ผู้ปกครอง – พึงพอใจในกระบวนการเรียนการสอนและเข้าใจบทบาทของตนในการเลี้ยงดูเด็ก

กุญแจสู่ความสำเร็จ

  • ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการส่งเสริมองค์ความรู้ EF และสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของบุคคลากรในทุกโอกาส
  • อาจารย์มีความตั้งใจในการพัฒนาทักษะความรู้ของตน และพร้อมถ่ายทอดความรู้ให้แก่กัน

บทเรียนที่อยากบอกต่อ 

ครูที่มีความรู้ EF แข็งแกร่งจากภายใน

จะสามารถช่วยเปลี่ยนการเรียนรู้ของเด็กได้

“… ครูรู้และเข้าใจ EF จะสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกงาน โดยเฉพาะการบูรณาการกับวิชาที่สอน การใช้ EF ร่วมออกแบบการจัดการเรียนรู้ จะนำไปสู่ประสบการณ์ดี ๆ ในชั้นเรียนปฐมวัย ก่อประโยชน์กับทุกฝ่ายทั้งครู นักศึกษา และนักเรียนอย่างแน่นอน…”

ผศ.ดร.รัฐกรณ์ คิดการ

คณบดีคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

และประธานสภาคณบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ

THAILAND EF PARTNERSHIP

เครือข่ายไทยแลนด์ อี เอฟ พาร์ทเนอร์ชิพ