ผศ.ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
อาจารย์อัญชลีรับผิดชอบหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย แต่ก็สอนปริญญตรีด้วย ได้นำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาบูรณาการในทุกรายวิชาที่สอน นอกจากนั้นยังได้สอนที่มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิชาการจัดประสบการณ์ ซึ่งได้บรรจุเนื้อหา EF เข้าไปด้วย “ได้ทำเอกสารประกอบการสอน บทที่ว่าด้วย EF หนึ่งบท อธิบายศิลปะกับEFอีกหนึ่งบท EFกับการเคลื่อนไหวและจังหวะ และEFสำหรับนิทานอีกหนึ่งบท
“ไม่ได้สอนรายวิชาเกี่ยวกับการทำงานของสมองโดยตรง แต่เราเอาความรู้ EF บูรณาการเข้าไปในวิชาอื่นที่สอน เดิมสอนเรื่องการคิด โดยไม่ได้สนใจกระบวนการทางสมอง สนใจแต่จะฝึกนักศึกษาให้มีทักษะการคิดเชิงบริหาร ไม่ได้เน้นเรื่องยั้งคิดไตร่ตรอง การคิดยืดหยุ่น ส่วนความจำ การวางแผนก็มีอยู่เวลาให้งานนักศึกษาไปทำ
“ในส่วนของปริญญาโท ได้นำ EF ไปสนับสนุนให้นักศึกษาทำวิทยานิพนธ์ ในเรื่องนวัตกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นนวัตกรรมที่เป็น active learning ทำการศึกษาดูว่าจะพัฒนา EF ไปได้มากแค่ไหน
“เมื่อแรกรู้ว่าจะต้องอบรมจะต้องสอนเรื่องทักษะสมอง EF ก็คิดอยู่ว่าคืออะไร เพราะที่เคยเรียนมาไม่มีคำว่า EF แต่เมื่อมาเข้ารับการอบรมก็เข้าใจ เห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็น แต่จะบูรณาการให้นักศึกษาเข้าใจได้อย่างไรดี การสอนต้องเป็น Active Learning และมีกระบวนการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม อันดับแรกจึงนำมาพัฒนาตัวนักศึกษาก่อน ก็ให้นักศึกษาประเมิน EF 9 ด้านของตัวเองก่อน ปรากฏว่าการสอนรอบที่หนึ่งยังไม่ค่อยสำเร็จ แต่ในรอบที่สองนักศึกษามีทักษะเพิ่มขึ้น คือ พฤติกรรมการทำงานนักศึกษาเปลี่ยน ถ้าจะทำงานนี้ต้องย้อนคิดถึงประสบการณ์เดิมก่อน คือใช้ความจำเพื่อใช้งาน พอจะทำกิจกรรมต่อไป ต้องจำข้อมูลเดิมมาทำในกิจกรรมใหม่ นักศึกษาคล่องขึ้น สุดท้ายก็ประเมินตนเองได้ เกิดกระบวนการเรียนรู้ ขั้นที่ 1 มีความรู้เกิดขึ้น ขั้นที่ 2 นำความรู้จากขั้นที่ 1 มาใช้ในขั้นการเรียนรู้ขั้นที่ 2 -3 นักศึกษามี EF เพิ่มขึ้น
“ตอนนั้นอบรมมาร้อนวิชาวิชามาก จำที่ผศ.ดร.คนึง สายแก้วบอกไว้ว่าถ้าอยากรู้ก็ต้องให้นักศึกษาลองทำ แล้วเราจะได้คำตอบ การทำให้นักศึกษาเข้าใจ EF 9 ด้านด้วยตัวเองก่อนทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้เข้าใจ เพราะฉะนั้นใน action research ตอนฝึกสอนจะกำหนดไว้ว่า นักศึกษาต้องมีทักษะ 9 ด้าน ต้องพัฒนา EF ก่อน ต้องเข้าใจด้วยตัวของเขาเอง นักศึกษาก็เรียนรู้ไปกับเรา
“ได้มาทบทวนพบว่า EF ทั้ง 9 ด้านนี้มีความสมบูรณ์ในการพัฒนาครูที่มีคุณภาพ เขาควรจะเป็นคนที่มีคุณภาพ เป็นครูที่มีคุณภาพ ถ้าเขามีทักษะสมอง EF 9 ด้านมันจะครอบคลุมทั้งหมด
“การปรับเปลี่ยนนี้สำคัญ เพราะสถานการณ์ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา โลก VUCA เปลี่ยนแปลงพลิกผัน เราไม่รู้ว่าข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เด็กจึงต้องมีทักษะเหล่านี้ ดังนั้นเวลาสอนเราจะให้สถานการณ์ต่างๆ แล้วให้นักศึกษาคิดว่าจะทำอย่างไร
“ที่มีประโยชน์ที่สุดคือนักศึกษาได้ทบทวนว่า EFด้านใดมากไปน้อยไปหรือขาดไป เราจะฝึกให้นักศึกษาทบทวน ถามนักศึกษาว่า จำเพื่อใช้งาน เกิดขึ้นช่วงไหนของกิจกรรม การยืดหยุ่น พลิกแพลงเปลี่ยนรูปแบบเวลาเกิดปัญหา มันอยู่ช่วงไหนของกิจกรรม ใน loope ที่หนึ่งไม่ค่อยปรากฎทักษะ EF ทั้ง 9 ด้าน loope ที่สองเพิ่มขึ้นมาหน่อย loope ที่สามค่อยปรากฏครบ 9 ด้าน ไม่ใช่สอนวันเดียวได้ สอนแล้วประเมิน 3 ครั้งกว่าจะเห็นว่ามีพัฒนาการ การประเมินมีความสำคัญมาก อาจารย์หรือครูต้องประเมินได้ชัดเจนจึงจะเติมเต็มให้ลูกศิษย์ได้
การเปลี่ยนแปลง/ผลสัมฤทธิ์ หลังจากเรียนรู้ EF และนำความรู้ EF ไปใช้ในการเรียนการสอน
ปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนเป็น Active Learning นักศึกษาเรียนรู้ผ่านกิจกรรมหรือการเรียนการสอนที่เป็น Active Learning
นักศึกษาได้ฝึก ได้พัฒนาทักษะสมอง EF เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ EF จากประสบการณ์ตรง และเป็นการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาเป็นครูที่มีคุณภาพ เป็นคนที่มีคุณภาพ
นวัตกรรม
รูปแบบการเรียนการสอน CCRP โดยใช้ความรู้เรื่องทักษะสมอง EF “ลองเอา EF ไปใช้กับการเรียนการสอนแบบ CCRP (Critical Mind, Creative Mind, Productive Mind, Responsible Mind) ได้ออกแบบและลองสอนกับนักศึกษา แล้ววิจัยไปครั้งหนึ่งแล้ว”
รูปแบบการเรียนการสอนเรื่อง EF ที่เป็น Active Learning “ผู้เรียนจะเรียนรู้อย่างเป็นกระบวนการ และทำให้เกิดการพัฒนา EF 9 ด้าน”
ฝากไว้ให้คิด
“อยากให้พัฒนาครูปฐมวัยและครูทุกระดับให้มีความรู้ EF อย่างจริงจัง”
THAILAND EF PARTNERSHIP
เครือข่ายไทยแลนด์ อี เอฟ พาร์ทเนอร์ชิพ