อาจารย์จิตโสภิณ โสหา
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
การเรียนครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษยังเป็นหลักสูตร 5 ปี จึงยังไม่มีวิชาสมองกับการเรียนรู้ อาจารย์จิตโสภิณจึงรู้สึกงงว่าจะเอาความรู้ EF ไปใช้ในการเรียนการสอนอย่างไร “เพราะเป็นอาจารย์ที่เพิ่งมาใหม่ ไปเข้าอบรมโดยคิดว่าเป็นการสะสมความรู้ หลังจากอบรมกลับมาทบทวนแล้วคิดว่า EF ก็ไม่ใช่เรื่องยาก สามารถเข้าใจได้ จะบูรณาการในวิชาอะไรก็ได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ในวิชาสมองกับการเรียนรู้เท่านั้น
“ในเทอมแรกยังไม่ได้ใช้ความรู้ EF ในการสอน เป็นช่วงของการทำความเข้าใจ เพราะต้องเห็นความสำคัญจริงๆ เห็นคุณค่าที่เกิดขึ้น ได้จากประสบการณ์กับตัวเองก่อน จึงนำความรู้ EFมาใช้กับตัวเอง ทำให้ตัวเองมีวินัยมากขึ้น คิดวิเคราะห์ไตร่ตรองแล้วเห็นว่า EF มีความสำคัญ เป็นเครื่องมือช่วยให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน
“เทอมต่อมา เริ่มบูรณาการ EF ในรายวิชาที่รับผิดชอบ ไม่ว่ากิจกรรมใดๆ ที่นักศึกษาได้ทำ ก็ให้นักศึกษาวิเคราะห์ว่าเป็นการฝึกทักษะสมอง EF ด้านใด เป็นการเรียนการสอนที่ให้เด็กลองทำ เรียนรู้ด้วยตัวเอง เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง เป็นการเรียนรู้ไปด้วยกันทั้งอาจารย์และนักศึกษา
“ประทับใจการทำงานของอาจารย์รุ่นพี่ที่ลงมือทำจริงแล้วกิดผล เกิดโรงเรียนเครือข่าย ผอ.โรงเรียน ผอ.เขตการศึกษาให้ความสนใจ ขอมาคุยกับประธานสาขาวิชา อยากมาทำ MOU ให้ไปพัฒนาครูอนุบาล เขต 2”
การเปลี่ยนแปลง/ผลสัมฤทธิ์ หลังจากเรียนรู้ EF และนำความรู้ EF ไปใช้ในการเรียนการสอน
ก้าวผ่านความกลัว ผ่านกรอบของการเป็นอาจารย์ใหม่ จากการ “ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ (EF) ได้เห็นอาจารย์รุ่นพี่ทำแล้วประสบความสำเร็จ มีโรงเรียนต่างๆ มาขอความรู้ ทำให้มีความกล้ามากขึ้น กล้าลองทำอะไรใหม่ๆ กล้าลงมือทำเรื่องใหม่ที่ไม่แน่ใจ ผลที่ได้คุ้มค่ากับความเหนื่อย ได้เห็นว่าสิ่งทำ ให้คุณค่ากับหลายๆ ฝ่าย”
ฝากไว้ให้คิด
“EF มีความสำคัญ เป็นเครื่องมือช่วยให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน”
THAILAND EF PARTNERSHIP
เครือข่ายไทยแลนด์ อี เอฟ พาร์ทเนอร์ชิพ