096-356-9461 support@rlg-ef.com
Slide
Slide

เสริมองค์ความรู้แก่… คณาจารย์

 สร้างพื้นฐาน EF ที่แข็งแกร่งให้… นักศึกษาครู

เชื่อมองค์ความรู้ EF ใน… หลากหลายรายวิชา

ขยายผลและส่งต่อคุณค่าสู่… เครือข่ายการศึกษาทุกช่วงวัย

ก้าวแรกของการขับเคลื่อน EF

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เริ่มขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 จากการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับมูลนิธิเด็กน้อยพัฒนา เพื่อส่งเสริมพัฒนาเด็กปฐมวัยในช่วงอายุ 2-4 ปีที่อยู่ในสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จ.สุรินทร์ ใช้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสนิท อ.จอมพระ เป็นศูนย์เรียนรู้ EF แห่งแรก

จากนั้นได้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) “โครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาหลักสูตรด้านการส่งเสริมทักษะสมองส่วนหน้า (Executive functions – EF) และพัฒนาอาจารย์สาขาปฐมวัยศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ในปี พ.ศ. 2562 กับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) นับเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาหลักสูตร สมองกับการเรียนรู้ สำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งได้รับการบรรจุเป็นรายวิชาหลัก และบูรณาการในทุกรายวิชาเรียนสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยทุกชั้นปี ก่อนที่จะขยายเครือข่ายการขับเคลื่อน EF สู่ทุกอำเภอในจังหวัดสุรินทร์ โดยบูรณาการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เทศบาล และหน่วยงานระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้อง

ต่อมาจึงได้รับเชิญให้ร่วมขับเคลื่อนองค์ความรู้ทักษะสมอง EF อย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบศูนย์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF (EF Center) ประเภทสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ด้วยผลงานที่โดดเด่นทั้งในด้านบุคลากร นโยบาย และกิจกรรมการดำเนินงานตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

เป้าหมายและยุทธศาสตร์

 

  • ห้องเรียน EF เชื่อมความร่วมมือเครือข่าย-บ้านโรงเรียน

อาจารย์และนักศึกษาสาขาปฐมวัยนำกระบวนการส่งเสริมทักษะสมอง EF ลงสู่การจัดประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ในรายวิชาสมองกับการเรียนรู้ เชื่อมโยงรายวิชาทางการศึกษาปฐมวัย และรายวิชาอื่นๆ ของคณะครุศาสตร์ โดยนำหลักวิชาการไปกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยอย่างรอบด้าน ในกลุ่มเป้าหมาย 4 มิติ (นักศึกษา-ครู-เด็ก-ผู้ปกครอง) ด้วยบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความสุข อาจารย์ นักศึกษา ครูและผู้ปกครองมีความเข้าใจ มีทักษะการนำ EF ไปประยุกต์ใช้กับตนเอง และ สามารถเชื่อมโยงทักษะสมองการทำงานของสมอง EF สู่การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยได้

  • เป็นศูนย์กลางบริการวิชาการ จับมือกับเครือข่ายขับเคลื่อนระดับจังหวัด

จากความสำเร็จของการขับเคลื่อนองค์ความรู้การพัฒนาทักษะสมอง EF ที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย นำไปสู่การสร้างเครือข่ายการทำงานเพื่อขับเคลื่อน EF ในจังหวัดสุรินทร์อย่างเป็นระบบ ผ่านกิจกรรมส่งต่อองค์ความรู้และข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับมูลนิธิเด็กน้อยพัฒนา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุรินทร์ ขยายแนวคิดนำแนวทางการพัฒนาทักษะสมอง EF ไปส่งเสริมพัฒนาการเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่างๆ ผ่านการอบรมพัฒนาครู การติดตามนิเทศ ประเมินผล และวิจัยคู่ขนานกับการเสริมสร้างความรู้ให้กับผู้ปกครอง ให้ผู้เกี่ยวข้องกับเด็กนำแนวทางการพัฒนาทักษะสมอง EF ไปใช้สู่การปฏิบัติอย่างครบทุกด้าน

  • สร้างเครือข่ายเข้มแข็ง หนุนสร้างนิเวศการส่งเสริมการเรียนรู้ในเด็กปฐมวัย ตามแนวทางการพัฒนาทักษะสมอง EF ผ่านกลไกการทำงานของศูนย์ต้นแบบ EF ประจำอำเภอ

ภายใต้ความร่วมมือกับมูลนิธิเด็กน้อยพัฒนา ทำให้การขับเคลื่อนความรู้ทักษะสมอง EF เป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญ ที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนในการขับเคลื่อนความรู้ฐานรากเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้ขยายไปได้อย่างกว้างขวาง ภายใต้ภารกิจการเป็นผู้นำในกระบวนการสร้างฐานความรู้สู่ผู้เกี่ยวข้อง มีเป้าหมายผลักดันศูนย์พัฒนาเด็กเล็กใน 17 อำเภอให้เป็นศูนย์ต้นแบบเพื่อการเรียนรู้ EF ประจำอำเภอ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการพัฒนาครู พัฒนาเด็ก รวมถึงครอบครัวให้ครอบคลุมทุกชุมชน ถือเป็นการก่อร่างสร้างนิเวศการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยการพัฒนาทักษะสมอง EF ให้เห็นผลจริงได้ในทุกพื้นที่ของ จ.สุรินทร์

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ทำหน้าที่จัดการฝึกอบรมสำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย เป็นแหล่งขยายองค์ความรู้สำหรับผู้ที่มีความสนใจทั่วไปเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย และให้คำปรึกษาในการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการทำวิจัยบูรณาการความเข้าใจเรื่องทักษะสมอง EF

กิจกรรมเด่น

กิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย ผลการดำเนินงาน
บูรณาการองค์ความรู้การพัฒนาทักษะสมอง EF เข้าสู่ทุกรายวิชาและจัดกระบวนการสอนที่คำนึงถึงแนวทางการพัฒนาทักษะสมอง EF นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยคณาจารย์คณะครุศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถเชื่อมโยงการทำงานของสมอง การพัฒนาทักษะสมอง EF สู่การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย 
การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะสมอง EF เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยครูครูผู้ดูแลเด็กโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ศึกษานิเทศก์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะสมอง EF

การเชื่อมโยงการพัฒนาทักษะสมอง EF กับแผนการจัดประสบการณ์

การเชื่อมโยง EF กับกิจกรรมประจำวัน 

ทักษะสมอง EF กับ HBL (Home-Based Learning) 

ทักษะสมอง EF กับ DSPM (Developmental Surveillance and Promotion Manual)

พัฒนาห้องเรียนและศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ โรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน จ.สุรินทร์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.สุรินทร์

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ทำความร่วมมือ MOU เพื่อพัฒนาห้องเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กส่งเสริมทักษะสมอง EF ต้นแบบ 
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ผู้ปกครอง เรื่อง: เครื่องมือ 7 วิธีพัฒนาลูกสมวัย สมองดี มี EF องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์

สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานสุรินทร์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ผู้ปกครองสามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ให้มีพัฒนาการและมีสมองที่ดี มีทักษะสมอง EF 
เสนอข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับทักษะสมอง EF ครูครูผู้ดูแลเด็ก

นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยคณาจารย์คณะครุศาสตร์ 

มีการขยายผลองค์ความรู้การพัฒนาทักษะสมอง EF สู่กลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มและบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ

ความเปลี่ยนแปลง

  • อาจารย์ นักศึกษาวิชาชีพครู และบุคลากรของศูนย์เด็กเล็กมีความรู้ ความเข้าใจ ในองค์ความรู้การพัฒนาทักษะสมอง EF สามารถนำองค์ความรู้มาออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับธรรมชาติการทำงานของสมอง และเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
  • เด็กมีความสุขในการเรียนรู้ผ่าน กิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วม เป็นการเรียนรู้แบบ Active Learning มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์และทักษะการจัดการที่ดีขึ้น
  • ผู้ปกครองมีความเข้าใจเรื่องทักษะสมอง EF สามารถปรับพฤติกรรมในการดูแลบุตรหลานได้เหมาะสมมากขึ้น

กุญแจสู่ความสำเร็จ

  • ผู้บริหารระดับจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะสมอง EF ให้การสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อน EF ย่างเป็นระบบ
  • อาจารย์และบุคลากรของคณะครุศาสตร์มีประสบการณ์ มีความรู้ และทุ่มเทในการขับเคลื่อน EF
  • มีการกำหนดนโยบาย แผนงานและเป้าหมายอย่างเป็นระบบ เน้นการบูรณาการทำงานร่วมกัน
  • การเชื่อมโยงการทำงานเป็นเครือข่าย ก่อให้เกิดระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เอื้อต่อการเรียนรู้และส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF ในทุกกลุ่มเป้าหมาย

บทเรียนที่อยากบอกต่อ 

  • การพัฒนาเด็กต้องเริ่มจากการพัฒนาครู และผู้ปกครองไปพร้อมๆ กัน
  • สร้างการเรียนรู้ผ่านกระบวนการจัดกิจกรรม ให้ผลลัพธ์ดีกว่าการบรรยาย
  • สอดแทรกและเชื่อมโยง EF ในทุกกิจกรรม
  • บูรณาการความร่วมมือจากทุกหน่วยงานเพื่อขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ไว้วางใจซึ่งกันและกัน จะทำให้ดำเนินงานเดินหน้าได้เร็วยิ่งขึ้น

“ไม่หยุดพัฒนา แม้ว่าจะทำงานสำเร็จลุล่วงแล้ว”

ผศ.ดร.คนึง สายแก้ว
 ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัย มูลนิธิเด็กน้อยพัฒนา

THAILAND EF PARTNERSHIP

เครือข่ายไทยแลนด์ อี เอฟ พาร์ทเนอร์ชิพ